ก.ล.ต. เปิดแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน ปี 63-65 มุ่งส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในตลาดทุน

33

ก.ล.ต. เผยแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน ปี 25632565 ซึ่งจัดทำเป็นครั้งแรก โดยคณะอนุกรรมการ ด้านยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุนที่มีนางเมธินี เทพมณี เป็นประธาน ให้ความเห็นชอบ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในตลาดทุน นำไปสู่ตลาดทุนดิจิทัลที่ประชาชนและทุกภาคส่วนเข้าถึงได้ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ผลักดัประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

คณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน
ปี 2563-2565 ของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อรองรับพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ที่พลิกโฉมการให้บริการทางการเงินและตลาดทุน (technology disruption) โดยมุ่งกำหนดนโยบายและแนวทางในการพัฒนาเพื่อสนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์มาใช้ได้จริงในตลาดทุนไทย เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นตลาดทุนดิจิทัล สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 25602564) แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) และแผนยุทธศาสตร์ ก.ล.ต. (พ.ศ. 25632565) รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขอเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่เข้ามาเปลี่ยนโฉมบริการทางการเงินและภาคตลาดทุน โดยมีประเด็นสำคัญทีดำเนินการได้แก่

(1) การเผยแพร่ข้อมูลแบบเปิด (Open Data) โดยสนับสนุนให้มี open data ที่รวบรวมข้อมูลในตลาดทุน เช่น ข้อมูลการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ กองทุนรวม ตราสารต่าง ๆ เป็นต้น โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้พัฒนาระบบ Open API สำหรับข้อมูลกองทุนรวม และปรับปรุงให้การรายงานข้อมูลต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบ machine readable ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่จะนำข้อมูลไปใช้พัฒนาบริการหรือเครื่องมือการลงทุนใหม่ ๆ

(2) สนับสนุนการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence & Machine Learning) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในตลาดทุน เช่น การนำ AI และ machine learning มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการลงทุนและความเสี่ยง เพื่อให้บริการที่ตอบโจทย์ผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งจัดทำโครงการ wealth tech ซึ่งใช้ robo advisor
หรือ AI ในการวิเคราะห์การลงทุน และวางแผนการลงทุนเพื่อรองรับการเกษียณ

(3) การใช้ประโยชน์จากกลุ่มคนจำนวนมาก (the crowd) โดยส่งเสริมแนวทาง crowd sourcing ซึ่งรวบรวมความเห็นของผู้มีประสบการณ์เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสนับสนุนการระดมทุนผ่าน crowdfunding โดยส่งเสริมให้ SMEs และ startupเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาธุรกิจได้ง่ายขึ้น โดยที่ผ่านมามีการปรับเกณฑ์หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงให้สอดคล้องกับความต้องการและลักษณะความเสี่ยง

(4) การพัฒนา Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลกลางสำหรับการออกเสนอขายหลักทรัพย์ ระบบชำระราคา-ส่งมอบหลักทรัพย์ และพัฒนากฎเกณฑ์รองรับการระดมทุนในรูปแบบดิจิทัล พื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดกระบวนการและต้นทุน และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการระดมทุน

(5) ประเด็นความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ได้มุ่งเป้ายกระดับมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ประกอบธุรกิจไปสู่ระดับของความทนทานและพร้อมรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (cyber resilience)  

(6) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection) มีการเตรียมความพร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนให้สามารถปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้การรวบรวม จัดเก็บ และการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามมาตรฐาน

(7) การใช้เทคโนโลยีในการกำกับดูแล (RegTech & SupTech) โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในการกำกับดูแลและเชื่อมโยงข้อมูล เช่น E-KYC โครงการ National Digital ID รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจสอบ เพื่อให้การกำกับดูแลตลาดทุนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจัดทำโครงการ Eenforcement ซึ่งใช้เทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์และตรวจจับความผิดปกติเกี่ยวกับธุรกรรมที่น่าสงสัย

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต.กล่าวว่า ถือเป็นครั้งแรกที่ ก.ล.ต. ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน ที่คำนึงถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีในตลาดทุน และมุ่งเสริมสร้าความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย ซึ่งสอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนโฉมทางเทคโนโลยี (digital disruption) โดยการจัดทำแผนครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนและเห็นชอบแนวทางจากคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์ดิจิทัลของตลาดทุน ที่มีนางเมธินี เทพมณี เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน