อุตสาหกรรมเกมส์-eSport เติบโตแรง บลจ.วี รับกระแส เปิดเสนอขายIPOกอง‘WE-PLAY’

181

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า นายอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (บลจ.วี) เปิดเผยว่า ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่พัฒนาสูงขึ้น ทำให้วิดิโอเกมเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมบันเทิงที่เติบโตและสร้างรายได้อย่างมาก

ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้เล่นวีดีโอเกมทั่วโลกจะสูงถึง 3 พันล้านคน หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเล่นเกมที่มีความนิยมสามารถรวมกลุ่มถึงระดับการจัดการแข่งขัน หรือ Esport ซึ่งมีการเติบโตปีละประมาณ 28% ตั้งแต่ในปี 2015 และมีผู้ชมการแข่งขันวิดิโอเกมที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีถึง 495 ล้านคนในปี 2020  ทำให้ตลาดเกมยิ่งเป็นที่รู้จักและส่งเสริมการเติบโตในเชิงโครงสร้างของกลุ่มดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

ในด้านการเติบโตของรายได้บริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น การพัฒนาออกแบบเกม, อุปกรณ์การเล่นเกม รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันและถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์ มีการเติบโตต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2020 จะมีรายได้ทั่วโลกสูงถึง 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตอย่างเนื่องจากการพัฒนาเกมที่มีรูปแบบ Game as a Service เพื่อสร้างรายได้จากเกม  เช่น การออกแบบเกมให้ผู้เล่นมีการซื้อไอเทมหรือสินค้าอื่นๆ ภายในเกมด้วยเงินจริง (Microtransactions) ทำให้เกมมีการอัพเดตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับธุรกิจการแข่งขัน eSport ในช่วงปีที่ผ่านมาได้รับความนิยมสูง เนื่องจากเงินรางวัลที่มีมูลค่ามาก ดึงดูดทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้จำนวนมากในทุกช่วงหลากหลายอายุโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่  ขณะที่การขายบัตรเข้าชมการแข่งขันก็สร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรม eSport จำนวนมาก ประเมินว่า รายได้ 1.59 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมทั่วโลกในปี 2020 จะมีสัดส่วนจาก eSport ประมาณ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งนี้ ในระยะถัดไป ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สนับสนุนเกมดีขึ้นและการเชื่อมต่อระหว่างผู้เล่นที่เร็วขึ้น ทำให้การพัฒนาเกมบนมือถือได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยได้รับแรงหนุนจากรูปแบบธุรกิจที่เล่นฟรีและความแพร่หลายของการใช้โทรศัพท์มือถือ อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของระบบสตรีมเมอร์ออนไลน์ ทำให้คนที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมกับเกมได้ง่ายขึ้น เช่น เกม Fortnite และ League of Legends โดยรายได้จากเกมมือถือจะยังคงเติบโตในระดับสูง จากที่มีอัตราการเติบโตประมาณ 22% ต่อปี (CAGR)

นายอิศรา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว บลจ.วี จึงเปิดเสนอขาย IPO กองทุนเปิด วี วีดิโอ เกมมิ่งแอนด์ อีสปอร์ต (WE VIDEO Gaming and eSports Fund : WE-PLAY) ระหว่างวันที่ 26 ต.ค – 3 พ.ย. 2563 ลงทุนผ่านกองทุนหลัก VanEck Vectors® Video Gaming and eSports ETF ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับวิดิโอเกม และ eSports เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากการเติบโตของหุ้นกลุ่มธุรกิจดังกล่าว

โดยเน้นบริษัทขนาดใหญ่และมีสภาพคล่องสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของดัชนี MVIS Global Video Gaming and eSports Index (MVESPOTR) ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวิดีโอเกมและ/หรือ eSport ที่มีรายได้จากธุรกิจดังกล่าวอย่างน้อย 50%  ขนาดของบริษัทมีมูลค่าตลาดเกิน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีสภาพคล่องสูง โดยต้องมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในช่วง 3 เดือนมากกว่า 1 ล้านเหรียญฯ และต้องมีปริมาณการซื้อขายขั้นต่ำ 250,000 หุ้นต่อเดือน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

ด้วยกลยุทธ์การกระจายลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ ไม่เน้นลงทุนในบริษัทใดมากจนเกินไป ทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก  VanEck Vectors® Video Gaming and eSports ETF สร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2563 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 เดือนที่อยู่ที่  -0.72%  ย้อนหลัง 3 เดือน 18.43%  ย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี 61.46% ย้อนหลัง 1 ปี 82.25%  และผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 42.24% ต่อปี *

“ปัจจุบันการเล่นวิดีโอเกมในทุกช่วงอายุ ซึ่งถือเป็นความบันเทิงรูปแบบหนึ่งที่เติบโตสอดรับกับนวัตกรรมของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น  ทำให้การเล่นเกม เปลี่ยนไปสู่การเป็นการแข่งขันที่มีผู้สนใจเข้าร่วมและมีผู้ชมเพิ่มขึ้นสูงมาก บลจ.วี อยากแนะนำกองทุน WE-PLAY เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและพัฒนาเกมที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือกองทุนในธีมเทคโนโลยี อีกกองทุนที่ บลจ.วี อยากนำในปีนี้ ซึ่งสอดรับกับจังหวะที่ภาวะตลาดมีความผันผวนและปรับตัวลงมา”  นายอิศรา กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมพร้อมรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (“บลจ.วี”) โทรศัพท์ 02-648-1555 หรือตัวแทนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนของ บลจ.วี ได้แก่ บล.เคทีบี (ประเทศไทย), บล.หยวนต้า , บล.โนมูระ, บล.เคจีไอ, บล.เอเชียเวลท์, บล.ฟิลลิป, บล.กรุงศรี, บล.เอสบีไอ ไทย ออนไลน์, บลน.โรโบเวลธ์, บลน.ฟินโนมินา และ บลน. เวลท์ รีพับบลิค และ บลน.เว็ลธ์เมจิก