STARK รับอานิสงส์ตลาดในเวียดนามที่เติบโตสูง

1133

มิติหุ้น-บทวิเคราะห์ บล.คันทรี่ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ระุบว่า สิ่งที่ได้จากการประชุมนักวิเคราะห์ ของหุ้น STARK คือ
1. กลยุทธ์ธุรกิจใน 2-3 ปีข้างหน้าจะเน้นไปที่การถ่ายทอดความเชี่ยวชาญเฉพาะชองโรงงานในไทยไปยังโรงงานที่เวียดนาม การลดต้นทุนจากการจัดซื้อร่วม ขณะเดียวกันก็ใช้ประโยชน์จากตลาดในเวียดนามที่มีอัตราการเติบโตสูงกว่าและสามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ดีกว่า

2. แผนธุรกิจปี 21 เน้นไปที่ (1)การเพิ่มสัดส่วนสินค้าอัตราก าไรสูง (Mediumto High Voltage Cable) (2)การขยายตลาดใหม่ๆในภูมิภาค เช่นอินโดนีเซีย แอฟริกา ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือและยุโรป (3) ใช้ความ
ได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตในเวียดนามที่ต่ า จากการประหยัดขนาดและการจัดซื้อวัตถุดิบร่วม และประโยชน์ด้านภาษี (4) เพิ่มมูลค่าผู้ถือหุ้นจากการลดภาระหนี้สินทางการเงินเพื่อประหยัดดอกเบี้ยจ่าย และลดอัตราหมุนเวียนเงินสดลง

3. ปัจจุบันมีมูลค่างานในมือราว 1.1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่จะรับรู้รายได้ในปี 21 โดยปีหน้ายังมีโอกาสเติบโตจากฐานลูค้าประจ าที่เป็นหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั้งไทยและเวียดนาม รวมถึงภาคธุรกิจเนื่องจากบริษัทเป็นที่
รู้จักในวงการ คุณภาพผ่านการรับรองจนติดอยู่ในรายชื่อ Vendor Listsและมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลาย

ผลประกอบการ 3Q20

รายงานกำไรสุทธิ 3Q20 ที่ 462 ล้านบาท ดีขึ้นจากการขาดทุน 81 ล้านบาทใน3Q19 เป็นผลจากการรวมงบ PDITL เข้ามาหลัง ส่งผลให้ช่วง 9M20 มีกำไรสุทธิถึง 1.16 พันล้านบาทเทียบกับ 52 ล้านบาทในช่วง 9M19 จากยอดขายที่เติบโตถึง 39%YoY มาที่ 1.19 หมื่นล้านบาท เป็นผลจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลในไทยและเวียดนาม

ความเห็นนักวิเคราะห์

บริษัทสามารถกระจายหุ้นให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยถึง 21% ในเดือนพ.ย. ครบตามคุณสมบัติการเป็นบริษัทจดทะเบียน เชื่อว่าจะเพิ่มความน่าสนใจต่อนักลงทุนอย่างไรก็ตามการควบรวมกิจการ PDITL เข้ามา ได้มีการเพิ่มทุนทำให้มีมูลค่าตลาดสูงถึง 4.5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ 36x Trailing PE สะท้อนความคาดหวังการเติบโตของผลประกอบการในอัตราที่สูง นักลงทุนจึงควรติดตามพัฒนาการการเติบโตผลประกอบการรายไตรมาส

ทั้งนี้ STARK คือ Holding Company ที่ลงทุนในบ.ย่อย PDITL ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับผู้ผลิตสายไฟฟ้ารายใหญ่ในไทยและกลุ่มบริษัท PhelpsDodge ในสหรัฐ โดย PDITL เป็นผู้ผลิตและจ าหน่ายสายไฟฟ้า ให้กับภาคเอกชนและภาครัฐ มีโรงงานในไทย 3 แห่งและเวียดนาม 1 แห่ง ด้วยก าลังการผลิตสายทองแดงและอลูมิเนียมในไทยและ เวียดนามราว 0.85 และ 1.37 แสนตันตามล าดับ และมีอัตราการ ใช้กำลังการผลิตสำหรับโรงงานในไทยและเวียดนามราว 75% และ 45% ตามลำดับ

www.mitihoon.com