กลุ่มปิโตรเคมี – อ่อนแอถึงปี 2024

817

กำลังการผลิตใหม่และคาดการณ์อัตราการผลิต PE และ PP สะท้อนถึงการเข้าสู่วัฏจักรขาลง ส่วน ABS จะได้รับแรงหนุนจากความต้องการจากภาคยานยนต์และอิเลคทรอนิคส์ แต่ซัพพลายก็กำลังเร่งตัวขึ้น จึงให้น้ำหนักกลุ่มน้อยกว่าตลาด (Negative)

 

เข้าวัฏจักรขาลง – IRPC จัดงาน ‘แนวโน้มปิโตรเคมีในยุคโควิด’ นำเสนอโดย S&P Global Platts การนำเสนอเน้นไปที่ PE, PP, และ ABS ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ IRPC, PTTGC และ SCC กำลังการผลิตใหม่และคาดการณ์อัตราผลิต PE และ PP สะท้อนการเข้าวัฏจักรขาลง เนื่องจากอัตราค่าขนส่งกำลังกลับสู่ภาวะปกติ คาดราคาและส่วนต่างโพลีเมอร์จะกลับสู่ระดับปกติใน 2022 โดยราคาและส่วนต่างผลิตภัณฑ์เริ่มปรับตัวลงในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา Platts คาดว่าราคาเอทีลีนและ PE จะลดลงจากก.ค. 2021 จนถึงสิ้นปี 2022 และจะทรงตัวในระดับต่ำจนกระทั่งปี 2024 ซัพพลายและความต้องการ PE ทั่วโลกจะอยู่ในระดับสมดุลในปี 2024 ซึ่งอัตราการดำเนินการจะลดลงสู่ 85% จาก 87% ในปี 2021 ก่อนจะฟื้นตัวในปี 2025 อย่างก็ตามการขาดแคลนเอทีลีนในส.ค. – ต.ค. จากผู้ผลิตหลายรายหนุนราคาในระยะสั้น

 

แนวโน้ม PP อ่อนแอคล้ายกับ PE แต่ซัพพลายและความต้องการจะสมดุลใน 2024 สะท้อนจากอัตราการดำเนินงานที่ลดลงก่อนฟื้นตัวในปี 2025 ความต้องการจากผลิตภัณฑ์การแพทย์ซึ่งมีสัดส่วนการบริโภค 5-8% ของการบริโภค PP ยังแข็งแกร่งและหนุนราคา PP รวมถึงการใช้ PP ในหลายอุตสาหกรรม (ยานยนต์, บรรจุภัณฑ์, การแพทย์, และภาคอุตสาหกรรม) จะบรรเทาผลกระทบของวัฏจักรขาลงของ PP

 

ABS จะยังได้ประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเลคโทรนิคส์ซึ่งบริโภค ABS 14% และ 66% คาดจุดสูงสุดของวัฏจักรเครื่องยนต์สันดาบภายใน (ICE) จะเกิดขึ้นในอีกทศวรรษข้างหน้าและยอดขายเครื่องยนต์ไฟฟ้า (EV) จะได้สัดส่วนสูงขึ้นกว่าเครื่องยนต์ ICE การเปลี่ยนจากเครื่องยนต์ ICE เป็น EV จะหนุนการบริโภค ABS อย่างไรก็ตามจะมีกำลังการผลิตวัตถุดิบ BZ และ SM เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2021-23 (ใช้ในการผลิต ABS) กำลังการผลิต ABS ใหม่ส่วนใหญ่จะเข้าสู่ตลาดในปี 2022 ทำให้กำลังการผลิตรวมเพิ่มขึ้น 1.0mt หรือ +11% จากกำลังการผลิตทั่วโลกปัจจุบัน 9.0mt เทียบกับการเติบโต 5% ต่อปี

 

ความต้องการรีไซเคิล PET – การระบาดของโควิดทำให้ความต้องการ PET, ฟิลม์บรรจุภัณฑ์, และโพลีเมอร์ที่ใช้ในอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) สูงขึ้น ประเทศจีนยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของธุรกิจปิโตรเคมี โดยประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าสุทธิสร้างระดับการนำเข้าอนุพันธ์เอทีลีนสูงสุดใหม่ในปี 2020

 

Disclaimer:  เอกสาร/รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม บมจ.หลักทรัพย์กรุงศรี มิอาจรับรองความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ บทความดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดของผู้จัดทำเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณการต่างๆที่ปรากฏในเอกสาร/รายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าดังนั้นนักลงทุนโปรดใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบในการพิจารณาการลงทุน

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp