สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนกรกฎาคม 2565

156

มิติหุ้น – จากปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลายประเทศเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูง ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัว โดยประกาศเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วง 7 เดือนแรกปี 2565 เพื่อชะลอเงินเฟ้อ ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจากการแพร่ระบาด COVID-19 เข้าสู่ภาวะถดถอย ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จึงเริ่มเห็นสัญญาณเงินทุนเคลื่อนย้ายออกจากน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ไปยังสินทรัพย์เสี่ยงที่ราคาปรับลดลงมามากจากสิ้นปี 2564

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ใน 7 เดือนแรกปี 2565 มีเงินลงทุนเคลื่อนย้ายมายังตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐที่แข็งค่าจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต ทำให้ค่าเงินในภูมิภาค ASEAN อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลบวกต่อภาคการส่งออกและท่องเที่ยวไทย โดย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 SET Index ปิดที่ 1,576.41 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.5% จากเดือนก่อนหน้า เป็นในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค

ภาวะตลาดหลักทรัพย์ไทย

  • ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 SET Index ปิดที่ 1,41 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 0.5% จากเดือนก่อนหน้า เป็นในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 SET Index ปรับลดลง 4.9%
  • SET Index ใน 7 เดือนแรกปี 2565 ได้แรงหนุนจากอุตสาหกรรมที่ได้รับอานิสงส์จากการกลับมาเปิดเมือง โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2564 ได้แก่ กลุ่มบริการ กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
  • ในเดือนกรกฎาคม 2565 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai อยู่ที่ 61,857 ล้านบาท ลดลง 27.5% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยใน 7 เดือนแรกปี 2565 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 83,958 ล้านบาท โดยผู้ลงทุนต่างประเทศกลับมาซื้อสุทธิในเดือนกรกฎาคม โดยซื้อสุทธิ 4,662 ล้านบาท ทำให้ใน 7 เดือนแรกปี 2565 ผู้ลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิรวม 113,730 ล้านบาท อีกทั้งผู้ลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4
  • ในเดือนกรกฎาคม 2565 มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET 1 บริษัท ได้แก่ บมจ. ไทยประกันชีวิต (TLI) และใน mai 2 บริษัท ได้แก่ บมจ. เบล็ส แอสเสท กรุ๊ป (BLESS) และ บมจ. ชิค รีพับบลิค (CHIC)
  • Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 1 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.5 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 17.0 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 13.0 เท่า
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ระดับ 79% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 2.98%

ภาวะตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

  • ในเดือนกรกฎาคม 2565 ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 465,349 สัญญา ลดลง 27.2% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญจากการลดลงของ Single Stock Futures และ SET50 Index Futures และในช่วง 7 ปีเดือนแรกของปี 2565 TFEX ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน 557,397 สัญญา เพิ่มขึ้น 2.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp