สรุปข้อมูล Media Briefing เดือนพฤษภาคม 2568

11

มิติหุ้น – การบังคับใช้กฎหมาย

การดำเนินคดีอาญา >> ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 ก.ล.ต. กล่าวโทษผู้กระทำผิดต่อพนักงานสอบสวน (บก.ปอศ. และดีเอสไอ) รวม 7 คดี ผู้กระทำผิด 26 ราย

ฐานความผิด

  • สร้างราคา 4 คดี ผู้กระทำผิด 14 ราย
  • แพร่ข่าว/ข้อความเท็จ 1 คดี ผู้กระทำผิด 1 ราย
  • ประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต 2 คดี ผู้กระทำผิด 11 ราย
ฐานความผิด 2567 2568
ไตรมาส 1 1 – 30 เม.ย. 1 ม.ค. – 30 เม.ย.
คดี ราย คดี ราย คดี ราย คดี ราย
การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์/สินทรัพย์ดิจิทัล                
·      การสร้างราคา 3 50 4 14 4 14
·      การใช้ข้อมูลภายใน
·      การแพร่ข่าว/ข้อความเท็จ 2 7 1 1 1 1
·      Front run 1 2
การทุจริต 8 31
แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญ 1 3
ประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต 2 4 2 11 2 11
รวม 17 97 6 25 1 1 7 26

การดำเนินการตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง >> ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) กำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด รวม 8 คดี ผู้กระทำผิด 42 ราย

ฐานความผิด

  • แพร่ข่าว/ข้อความเท็จ 1 คดี ผู้กระทำผิด 2 ราย
  • สร้างราคา 4 คดี ผู้กระทำผิด 26 ราย
  • ใช้ข้อมูลภายใน/การเปิดเผยข้อมูลภายใน 2 คดี ผู้กระทำผิด 12 ราย
  • แสดงข้อความอันเป็นเท็จ/ปกปิดข้อความจริง 1 คดี ผู้กระทำผิด 2 ราย
ฐานความผิด 2567 2568
ไตรมาส 1 1 – 30 เม.ย. 1 ม.ค. – 30 เม.ย.
คดี ราย คดี ราย คดี ราย คดี ราย
การกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์/สินทรัพย์ดิจิทัล                
·    การแพร่ข่าว/ข้อความเท็จ 1 2 1 2
·    การสร้างราคา 6 62 3 16 1 10 4* 26
·    การใช้ข้อมูลภายใน/การเปิดเผยข้อมูลภายใน 4 10 2 12 2 12
แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญ 1 2 1 2
รวม 10 72 5 28 3 14 8 42

หมายเหตุ : การสร้างราคา 4 คดี ประกอบด้วย

(1) ผู้กระทำความผิด 2 ราย กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์ RPC

(2) ผู้กระทำความผิด 1 ราย กรณีสร้างราคา 4 หลักทรัพย์ (ABM F&D TVDH-W3 และ AMR)

(3) ผู้กระทำความผิด 13 ราย กรณีสร้างราคา 4 หลักทรัพย์ (MAX EIC NEWS และ NEWS-W5)

(4) ผู้กระทำความผิด 10 ราย กรณีสร้างราคาหรือปริมาณหลักทรัพย์ TCC

การตกลงทำบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด >> ในช่วง
4 เดือนแรกของปี 2568 รวม 4 คดี ผู้กระทำผิด 14 ราย โดยมีค่าปรับทางแพ่ง 14.14 ล้านบาท และชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับ 10.20 ล้านบาท

  1 ม.ค. – 30 เม.ย. 68 2560 – 30 เม.ย. 68
จำนวนคดี 4 71
จำนวนผู้กระทำผิด 14 291
ค่าปรับทางแพ่ง 14.14 ล้านบาท 2,046.28 ล้านบาท
ชดใช้เงินเท่าผลประโยชน์ที่ได้รับ 10.20 ล้านบาท 396.72 ล้านบาท
ชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 0.76 ล้านบาท 11.61 ล้านบาท

หมายเหตุ : * เงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำผิด เป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลังแล้ว

การมีคำพิพากษาในคดีที่ ก.ล.ต. ยื่นฟ้องเพื่อให้ศาลแพ่งกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง

คดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จำนวน 6 คดี (ศาลชั้นต้น 1 คดี และศาลอุทธรณ์ 5 คดี) โดยศาลพิพากษาให้ ก.ล.ต. ชนะคดี โดยลงโทษและกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งแก่จำเลยในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด

อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น/ศาลอุทธรณ์ จำนวน 15 คดี แบ่งเป็น 11 คดี อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น และ 4 คดี อยู่ระหว่างอุทธรณ์ (ทั้ง 4 คดี ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ ก.ล.ต. ชนะคดี โดยลงโทษและกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งแก่จำเลยในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด)

การดำเนินการของ “สายด่วนแจ้งหลอกลงทุน”

ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2568 ก.ล.ต. ได้รับแจ้งเบาะแสหลอกลงทุน รวม 2,735 ครั้ง ผ่านระบบรับแจ้งใน 6 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์สำนักงาน ก.ล.ต. (www.sec.or.th/scamalert) โทรศัพท์ (1207 กด 22) อีเมล (scamalert@sec.or.th) เดินทางมาที่สำนักงาน ระบบบริการสนทนา และไปรษณีย์ โดยมีบัญชีโซเชียลมีเดียเข้าข่ายหลอกลงทุนที่ประสานผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและหน่วยงานภาครัฐเพื่อปิดกั้น จำนวน 1,849 บัญชี โดยผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้ปิดกั้นไปแล้ว 99.94% ภายในเวลา 7 นาที – 48 ชั่วโมง และให้คำปรึกษาในเรื่องการหลอกลงทุน จำนวน 886 ครั้ง

การดำเนินการ จำนวนบัญชีที่แจ้งปิดกั้นเนื้อหาหรือช่องทางการหลอกลงทุน
2567 ไตรมาส 1 2568 1 ม.ค. – 30 เม.ย. 2568
แจ้งปิดกั้นโดยตรงกับ
ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
Facebook 1,349 759 1,147
LINE 156 38 44
TikTok 1,817 533 580
Instagram 3 21
แจ้งปิดกั้นผ่านหน่วยงานภาครัฐ* 66 46 57
รวม 3,388 1,379 1,849

หมายเหตุ : * เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

การจัดการบัญชีม้าสินทรัพย์ดิจิทัลและปิดกั้นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้รับอนุญาต

ความคืบหน้าการดำเนินการหลังจาก พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ และ พ.ร.ก. อาชญากรรมทางเทคโนโลยีฯ ฉบับแก้ไขมีผลใช้บังคับ (13 เม.ย. 68)

  • ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้มีการระงับบัญชีต้องสงสัยว่าเป็นบัญชีม้า ตามที่ได้รับข้อมูลจากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ไปแล้วมากกว่า 27,000 บัญชี รวมมูลค่าทรัพย์สินมากกว่า 169.29 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 18 เม.ย.)
  • การปิดช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีกระบวนการที่กระชับกว่าเดิม เนื่องจากมีการลดขั้นตอน

กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของ Thai ESG ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในทุกประเภทกองทุน โดย ณ สิ้นเดือน เม.ย. 68 เพิ่มขึ้น 17.42% มาอยู่ที่ 34,745 ล้านบาท จาก 29,591 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 67 แสดงถึงการขยายตัวของ Thai ESG อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ เพิ่มขึ้นถึง 31.42% จากสิ้นปี 67 ขณะเดียวกัน Thai ESG ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุน เพิ่มขึ้น 1.94% จากสิ้นปี 67 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

กองทุน Thai ESG มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)
  2567

(ล้านบาท)

30 เม.ย. 2568

(ล้านบาท)

% เพิ่มขึ้น
จากสิ้นปี 67
มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุน 11,011 11,225 1.94%
มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ 14,715 19,339 31.42%
มีนโยบายเน้นลงทุนแบบผสม 3,865 4,181 8.18%
NAV รวม (ล้านบาท) 29,591 34,745 17.42%
จำนวนกองทุน 37 37

ขณะนี้ ก.ล.ต. ยังอยู่ระหว่างเปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักเกณฑ์ Thai ESG (ซึ่งจะเป็นเกณฑ์สำหรับ Thai ESGX ด้วย) เพื่อเพิ่มทางเลือกในการลงทุนโทเคนดิจิทัลกลุ่มความยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้ผู้ประเมิน ESG และการบริหารสภาพคล่อง (เปิดรับฟังความเห็นจนถึง 28 พ.ค. 68)

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon