NTF  ฆ่า ‘เพนพอยท์’ ล้งกินรวบสวน พลิกโฉมเกษตรไทยชิงแสนล้าน

127

 

มิติหุ้น-NTFสองเพื่อนซี้วิศวอุตสาหกรรม ที่ฝ่าขวากหนามสนามทุเรียนไทยไปจีนแข่งเดือด แม้แต่ล้งยืดสวนระยอง ใช้เวลา 5 ปี ก้าวขึ้นไปปักธงทำแบรนด์ผลไม้ไทยในจีนจนติดท็อปทรีในเมืองจีน ปฐมบทพลิกโฉมเกษตรกรไทยที่ถูกแช่แข็งมากว่าสิบปี ให้เป็นเกษตรกรอัจฉริยะปักธงในตลาดโลก 

 

สองเพื่อนซื้”วิชัย ศิระมานะกุล”ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นทีเอฟ อินเตอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด หรือ NTF และ “อิศรา ภูววิเชียรฉาย” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ NTF ที่เรียนด้วยกันมาตั้งแต่มัธยม จนจบมหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ด้าน อุตสาหกรรม จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากต่างคนต่างไปทำงานในองค์กร และเป็นเจ้าของกิจการเก็บเกี่ยวความชำนาญ วิชัยทำงานด้านการตลาด ส่วน อิศรา เป็นเจ้าของกิจการด้านอสังหาริมทรัพย์ให้กับที่บ้าน 

 

ยึดหัวหาด ผลไม้ไทยใส่แบรนด์ 

 

โดยวิชัย มีประสบการณ์ 14 ปี คลุกวงในฐานะลูกค้ามือทำการตลาดในจีน ให้กับองค์กรใหญ่หลายแห่ง เคยขายทุกอย่างตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบทั้ง เกษตร อาหารสัตว์ อาหารทะเล มอเตอร์ไซค์ และเคมีภัณฑ์ จึงเข้าถงตลาดจีนแบบทะลุปรุโปร่ง ผ่านเกือบทุกช่องทางที่หาโอกาสเจาะค้าปลีก และผู้บริโภคในตลาดจีน จนทำให้เปิดตลาดทุเรียนพรีเมียม ทำแบรนด์ได้สำเร็จ ติดอยู 1 ใน 3 แบรนด์ทุเรียนพรีเมี่ยมในทุกเมืองที่ไปปักธง

 เริ่มต้นจากส่งออกลำใย ขยายเป็นทุเรียน  มะพร้าว เจ้าของแบรนด์  เหม่ย ลี่ (Mei Li), ไท่ จี้ (Tai Ji), จิน เยี่ยน (Jin Yan), ไท่ ถิง ห่าว (Tai Ting Hao), โมมันไท่ (Momantai) และมินิ (Mini)  เจาะตลาดผู้นำเข้าผลไม้และผู้บริโภคชาวจีน กลุ่มพรีเมี่ยม ในเมือง กวางเจา (Guangzhou) และเจียซิง (Jiaxing) ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดซื้อขายผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และอีก 5% ของการค้า พัฒนาผลไม้ อาทิ ทุเรียนแกะเนื้อไปยังสหรัฐอเมริกา 

 

เขาเล่าย้อนจุดเริ่มต้นแห่งโอกาสทุเรียนเริ่มต้นในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตโควิด แต่นั่นกลับเป็นโอกาสสำคัญให้กับกองทัพผลไม้รายเล็กๆ ของเขา ที่เริ่มหันมาทำธุรกิจตัวเอง 

 

“แบรนด์เราก้าวขึ้นมาติดเป็นเบอร์ 2 ในเมืองที่ส่งออกไป เริ่มต้นจากช่วงก่อนโควิด ผมก็ออกจากเป็นปรึกษาและจากผู้บริหารของบริษัท มองว่าในวิกฤติมันก็มีโอกาศ อัตราการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น จึงทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นจึงเลือกส่งออกผลไม้ แม้ยุคโควิดอุปสรรคเยอะ แต่ยิ่งอุปสรรคยิ่งทำยิ่งท้าทาย ปัญหาทําให้เราเติบโตเร็วด้วย”

 

ฝ่าทุกกำแพงผลไม้ในจีน 

 

เหตุผลที่เริ่มต้นจับธุรกิจผลไม้ เพราะเห็นตลาดมหาศาล มาพร้อมกับปัญหาและอุปสรรคมากมายที่ผู้เล่นในตลาดกว่า 50 ราย ไม่สามารถตอบสนองลูกค้าชาวจีนได้ เพราะต้องควบคุมคุณภาพ ของสด แข่งขันกับเวลา ช่องทางการกระจายสินค้าในจีนที่ปราบเซียน กฎระเบียบซับซ้อน ตลาดส่วนใหญ่ที่ส่งผลไม้ไป จึงเป็นในรูปแบบเทกอง ขาดกลุ่มพรีเมี่ยมที่ทำแบรนด์ผลไม้ คุณภาพ นั่นคือช่องว่างที่เขาเริ่มต้นไปพัฒนาสินค้าเติมเต็มตลาด 

 

“ผมอยู่กับผลไม้มายาวนานเกือบทุกทุกชนิด ทำการตลาดผลไม้มาเกือบ 10 กว่าปีแล้ว ในตลาดโลก เห็นพัฒนาการ เมื่อก่อนไม่มีแอปเปิ้ลเขียว แต่ตอนนี้มีหลากหลายทั้งจากนิวซีแลนด์ และเพิ่มแบรนด์ เช่น Envy เป็นต้น เราจึงเริ่มต้นทำแบรนด์ผลไม้ไทย ให้ยอมรับเมื่อนำเสนอคุณภาพดีขึ้น คนก็ยอมจ่ายเงินสูงขึ้น” 

 

จุดอ่อนหลักๆ ที่มีผู้เล่นมากมายในตลาด แต่ก็มีผู้เล่นมากมายที่เข้ามาในตลาดผลไม้ไทยไปจีน ต้องถอดใจ ถอยออกไป ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ แม้จะมีเงินลงทุนก็ตาม เพราะใช้หลักการบริหารจัดการละเอียดอ่อน เริ่มต้นจากควบคุมคุณภาพ จนส่งจากต้นตั้งโรงงานแพคสินค้าถึงปลายทาง ในแบบชนิดที่สุกพร้อมทานได้  นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าเสริม กระบวนการส่งออก หากใครควบคุมได้ ก้าวข้อจำกัด  รวมถึงภาวะดินฟ้าอากาศ ที่ควบคุมผลผลิตไม่ได้ รวมถึงการจัดการคุณภาพให้สุก 

 

ปิดทุกความเสี่ยง ผลไม้ไทย 

 

นี่คือการนำองค์ความรู้ของ วิศวอุตสาหกรรม ออกแบบเทคโนโลยี ลงทุนตั้งโรงงาน ที่จันทบุรี และลำพูน เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิต คัดแยก ผลไม้ให้คงความสด เพื่อเสิร์ฟรสชาติความหอมหวาน คุณภาพที่แท้จริง 

ที่สำคัญ การมุ่งพัฒนาสินค้าคุณภาพของผลไม้ จึงพัฒนาแบบมาตรฐาน GMP และ GAP พร้อมระบบควบคุมคุณภาพ 2Q2T ซึ่งครอบคลุมการตรวจสอบคุณภาพ, ปริมาณ, เวลา และอุณหภูมิ เพื่อให้มั่นใจว่าผลไม้ที่ส่งออกมีคุณภาพสูงและสดใหม่

 

“เราคิวซีควบคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ และยังคาดกาาณ์สภาพอากาศล่วงหน้า เพื่อประเมินความเสี่ยง และจำนวนผลผลิต เข้าไปเตรียมรับมือตั้งแต่การเพาะปลูก จนถึงการเก็บเกี่ยวและขนส่ง ให้มีผลผลิตตลอดปี ตั้งแต่ ภาคตะวันออก, ภาคใต้, ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ สามารถรวบรวมผลผลิตให้พร้อมส่งออกไปจีนได้ ตามความต้องการ”

 

จีน ขุมพลังการบริโภคผลไม้ร้อยล้านคน

 

ส่วนข้อดีที่สร้างโอกาส เพราะอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาด 1.5 แสนล้าน และมีการเติบโตขึ้นทุกปี คนจีนกว่า 1,400 คน แค่เพียง 1%ก็ ก็มากกว่า 100 ล้านคนที่ต้องการทุเรียน หากทุกคนหันมาบริโภคทุเรียนกันแค่ 1-10% ก็มีความต้องการเกินซัพพลายการผลิต เพราะ 1 มณฑล เท่ากับ 1 ประเทศ 

“ตลาดผลไม้ไทยในจีนเพิ่งเริ่มต้น คนเพิ่งเริ่มต้นรู้จักทุเรียนไทยเพียงแค่ 10% ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกทุเรียนไทยไปจีนอยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท หากมีการบริโภคเพิ่มขึ้นขยายไปในหลากหลายมณฑลกว่า 2 เมืองที่เข้าไปบุกทั้งตะวันตก และภาคกลาง จะมีโอกาสอีกมหาศาล” 

 

นี่คือเหตุผลจูงใจให้ทุกคนต่างก็จะกระโจนลงมาเป็นผู้ส่งออกทุเรียนไปตลาดจีน แม้แต่คนจีนที่กระโดดมายึดหัวหาดปิดดีลเป็นล้ง กับชาวสวน เหมาหมดสวน เคยหวังกินรวบ ตั้งแต่ต้นทาง ในช่วงเริ่มต้นที่ตลาดทุเรียนบูมหนัก แต่เมื่อลิ้มลองความยากของทุเรียน ที่ต้องฟูมฟักประคบประหงม ทุกขั้นตอนเพื่อให้รักษาความสด และคุณภาพของทุเรียนไทยไปถึงตลาดจีน ก็ต้องยอมถอดใจ 

 

ตัดตอนล้ง”กินรวบ” สู่ กินร่วมตลอดซัพลายเชน 

 

โมเดลของTNF เป็นการทำธุรกิจผลไม้แบบ”กินร่วมกัน” ไม่ใช่ “กินรวบ” ที่รวบรวมซัพพลายเชนทุกส่วนมาร่วมกันเป็นเครือข่ายผลไม้ ตั้งแต่ชาวสวน ผู้มีความรู้ด้านการเกษตรเป็นทีมงาน เข้าไปช่วยพัฒนาผลผลิตให้เพียงพอตลอดปี และมีทีมวิศวกรเข้าไปพัฒนาเทคโนโลยีที่คงความสดใหม่ให้ผลไม้ได้คุณภาพในโรงงาน รวมถึงระบบการขนส่งโลจิสติกส์ ที่รักษาอุณหภูมิผลไม้ 

 

“คนจีนเริ่มขายสวนไปบ้างแล้ว เพราะไม่สามารถจัดการควบคุมคุณภาพได้หมด ตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง บางราย จึงหันมาหารือคุยกับเราเพื่อมอบหมายให้เราดูแลส่งออกไปให้ตั้งแต่ต้นทาง ที่จะต้องเข้าไปดีลตรงกับชาวสวน ช่วยลดขั้นตอนให้ผู้นำเข้าชาวจีน “

 

พลิกโฉมเกษตรกรไทย 

 

นี่ถือเป็นโมเดลพลิกโฉมเกษตรกรไทย สู่เกษตรกร อัจฉริยะ(Smart Farmer)  ที่ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายแขนงร่วมมือกันขับเคลื่อนระบบนิเวศตลาดผลไม้ ที่สามารถขยายไปสู่ ผัก และเป็นทั้งผู้นำเข้าและส่งออก ไปในต่างประเทศนอกเหนือจากจีนในอนาคต อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย และยุโรป 

 

“เราเห็นเพนพอยท์ของเกษตรกรไทย ที่ผลิตมาแบบเดิมเป็นสิบๆ ปีก็ยังทำแบบเดิมเหมือนโดนฟรีซไว้ 20 ปี ทั้งที่มีศักยภาพในการผลิตไม่ได้มีการพัฒนาใหม่ๆ ขณะที่ผลไม้และผักต่างประเทศ มีการพัฒนาแบรนด์ มีการใช้เครื่องมือ  เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึง ระบบหุ่นยนต์ (Robotics) มาช่วยในการบริหารจัดการสวน แต่เรายังใช้คนแบบเดิม ไม่มีการทำแบรนด์ จึงต้องการเข้ามาพลิกโฉมเกษตรกรไทยให้ก้าวสู่การแข่งขันระดับโลก” 

 

ถอดบทเรียน 5 ปี ผลไม้ไทย จากหมื่นล้านสู่ พันล้าน 

 

ทั้งสองคนเล่าว่า นี่คือโมเดลผลไม้ที่มีวิวัฒนาการ ที่เริ่มต้น 5 ปีที่ผ่านมา จากการส่งออกเป็นตู้คอนเทนเนอร์ ส่งลำไย ด้วยมูลค่าหลักหมื่นบาท จนขยายมาสู่ทุเรียน สร้างรายได้อย่างก้าวกระโดด จากข้อมูลรายได้ในช่วง 3 ปีล่าสุด NTF มีทำรายได้ปี 2565 รายได้ 347 ล้านบาท ,ปี 2566 รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 563 ล้านบาท และปี 2567 รายได้พุ่งสูงถึง 1,115 ล้านบาท เป้าหมายในปี 2568 จะก้าวไปสู่ 1,800 ล้านบาท 

 

แผนล่าสุดหากมีการลงทุนด้านเทคโนโลยี ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ช่วยในการคัดแยก แทนคนงานกว่า 300 คน จะช่วยทำให้ส่งออกเพิ่มขึ้นอีกมาก เป้าหมายรายได้ แตะ 1 หมื่นล้านบาท ในอีก 5 ปี ไม่ไกลเกินเอื้อม หากเทียบกับส่วนแบ่ง 20% ของกลุ่มทุเรียนพรีเมี่ยมในตลาดจีน ที่มีมูลค่าสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท 

กุญแจความสำเร็จที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ 1.คุณภาพ หาวิธีการพัฒนาเทคโนโลยีที่รักษาคุณภาพผลไม้ให้สด และโดดเด่น ลูกค้าก็เข้ามาหา และยอมจ่ายสูงขึ้น 2.ความรวดเร็ว มองทุกอย่างให้ชัดแล้วรีบตอบสนองให้รวดเร็ว และ 3.ยอมรับความเปลี่ยนแปลงและพร้อมปรับตัวตามสภาพความผันแปรของตลาดต้องการ เพื่อรับมือกับความท้าทายจากปัจจัยเหนือการควบคุม  อาทิ สภาพอากาศเปลี่ยน 

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/

Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon

Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770

Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon