STA ยังรอปัจจัยบวกEUDR เทรดP/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

138

มิติหุ้น – STA โดยบล.ลิเบอเรเตอร์ ระบุว่ากำไร Q1/68 ที่ 689 ลบ. ขยายตัว +309% y-y แต่หดตัว -19% q-q กำไรดีกว่าคาด รอบนี้ดีทั้งธุรกิจยาง และถุงมือยาง กำไรที่ลดลง q-q เนื่องจาก 4Q24 มีรายการพิเศษ +725 ลบ. แต่ 1Q25 รายการพิเศษ -46 ลบ.

รายได้อยู่ที่ 27,851 ลบ. +5% q-q และ +58% y-y ราคาขายเฉลี่ย +4% q-q และ +26% y-y ปริมาณขาย 396,955 ตัน +25% y-y และ +3% q-q โดยมีการขายยาง EUDR จำนวน 42,876 ตัน คิดเป็น 11% ของปริมาณขาย แต่หดตัว -38% q-q จากการเลื่อนการบังคับใช้ ในภาพรวมจีนยังเป็นลูกค้าหลัก 66% ของยอดขาย

อัตรากำไรขั้นต้น 9.1% ดีขึ้นจาก 7.5% โดยกลุ่มยางธรรมชาติอัตรากำไรขั้นต้นเป็น 8.0% จาก 7.3% ตามราคาขายเพิ่มขึ้น ส่วนถุงมือยางอัตรากำไร 13.0% จาก 8.2% จากราคาขายเพิ่มขึ้น ค่าใช้จ่าย +9% y-y และ -9% q-q เพิ่มขึ้นจากปริมาณส่งออกเพิ่มส่งผลให้ค่า CESS เพิ่ม แต่ลดลงจากค่าขนส่งลดลงตามค่าระวางที่ลดลง และดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มตามเงินกู้เพิ่มและราคายางเพิ่มขึ้น

EUDR มีโอกาสเลื่อน แต่ประกาศไทยเป็นประเทศความเสี่ยงต่ำ : สำหรับยาง EUDR นั้น STA ยังมีการขายยางดังกล่าวให้กับลูกค้ายางรายใหญ่ คาดจะอยู่ที่ 40,000-50,000 ตัน/ ไตรมาส หรือราว 10% ของปริมาณขายส่วนราคาขายจะมีส่วนเพิ่มจากยางปกติราว 10% แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีผลบังคับใช้ปี 2026 หรือไม่ แต่ล่าสุด EUDR มีประกาศรายชื่อประเทศต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 ระดับคือ

  1. Low risk จะสุ่มตรวจ 1% ของยางที่ส่งไป
  2. Standard risk จะสุ่มตรวจ 5%
  3. High risk จะสุ่มตรวจ 10%

ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอยู่ระดับ Low risk อย่างไรก็ดีหลังการเลื่อนการมีผลบังคับใช้สำหรับ EUDR ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงชะลอโครงการดังกล่าวเช่นกัน คงต้องรอว่าโครงการดังกล่าวจะมีความคืบหน้าอย่างไร ซึ่งคาดจะเห็นความชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังนี้และจะเป็นปัจจัยผลักดันราคายางอีกครั้ง

ภาษีตอบโต้จากสหรัฐ ส่งผลให้ทุกอย่างหยุดชะงัก : หลังประกาศภาษีตอบโต้จากสหรัฐเมื่อ 2 เม.ย. ที่ผ่านมาส่งผลให้ราคายางปรับลงราว 50 เซนต์/ กิโลกรัม จากกังวลต่อกำลังซื้อและผลกระทบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม หลังสหรัฐและจีนมีการเจรจาและเลื่อนการบังคับใช้ไปอีก 90 วันส่งผลให้ราคายางปรับขึ้นมา โดยปัจจุบันอยู่ที่ 165-175 เซนต์/ กิโลกรัม แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ขอชะลอคำสั่งเพื่อรอความชัดเจนของมาตรการภาษี

อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งออกของผู้ผลิตยางล้อจีนซึ่งมีฐานการผลิตในไทยจะไม่ถูกคิดภาษีในอัตราเดียวกับจีนเนื่องจากการผลิตยางล้อมีการใช้วัตถุดิบในประเทศไทยมากกว่า 40% ของสินค้าทำให้ยังสามารถส่งออกในอัตราภาษีเดียวกับไทยได้ เพียงแต่ต้องรออัตราภาษีใหม่ของไทยว่าจะอยู่ที่เท่าใด (ว่าจะ 36% หรือไม่)

ขณะที่ในสหรัฐมีโรงงานผลิตยางล้อ และเป็นลูกค้าของ STA ทำให้ STA มีความได้เปรียบหากมีการผลิตยางล้อในสหรัฐทดแทนซึ่งการส่งออกยางธรรมชาติไปจะไม่เสียภาษีนำเข้าอย่างเช่นยางล้อ และเราคาดว่าประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลกจะยังมีความได้เปรียบหากเทียบกับคู่แข่ง

เราคาดผลการดำเนินงานช่วงที่เหลือของปีจะได้รับกระทบทั้งจากราคาและปริมาณขายที่หดตัวจากความไม่ชัดเจน แต่เราคาดไทยยังมีความได้เปรียบจากที่ยังสามารถส่งออกยางธรรมชาติไปได้ และโรงงานยางล้อจีนในไทยยังอิงกับอัตราภาษีของไทยทำให้การขายยังทำได้แต่ต้องติดตามอัตราภาษีของไทย ส่วน EUDR จะเป็นตัวเร่งต่อราคายางอีกครั้งหากมีผลบังคับใช้จากที่ STA เป็น 1 ใน 2 บริษัทในตลาดฯ ที่ผ่านมาตรฐานดังกล่าว

            ตลาดยังกังวลต่อกังวลภาษีจนราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายบน P/B25E เพียง 0.3x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต เรายังคงแนะนำ ซื้อ แต่ปรับราคาเหมาะสมเหลือ 16.50 บาท ”

 

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon