WHO ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกดบาทอ่อนค่า “หุ้นส่งออกTU-CPF”เด่นสุด

187

มิติหุ้น- จากความกังวลไวรัสโคโรนายังแพร่ระบาด ล่าสุด WHO ได้ยกระดับเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศนั้น ด้านบทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า ปัจจัยดังกล่าวทำให้ค่าเงินบาท/ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่องติดต่อกัน 7 วันติด และอ่อนค่าราว 3.79% ล่าสุด อยู่ที่  31.1  บาท เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 30.41 บาท (ASPS สมมุติฐานเงินบาท/ดอลลาร์ปี 2563 ที่ 31 บาท)   และถือเป็นสกุลเงินที่อ่อนค่ามากที่สุดในเอเชีย เทียบกับกับสกุลเงินอื่นๆในภูมิภาคเอเชียที่อ่อนค่าเล็กน้อย

ซึ่งเงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลให้ต่างชาติลังเลในการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้น เพราะถ้าค่าเงินบาทอ่อนค่านักลงทุนต่างชาติมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี คือ ทุกๆ ค่าเงินบาทอ่อนค่าเร็วเกิน 1% จะส่งผลให้เงินทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดหุ้นเฉลี่ยราว 8.5 พันล้านบาท กดดันให้ SET Index ขึ้นได้อย่างจำกัด

อีกทางหนึ่งเงินบาทอ่อนค่าที่อ่อนค่าถือเป็นเป็น Sentiment บวกต่อหุ้นในกลุ่มที่ส่งออก และ อาทิ   ส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: รายได้เกือบทั้งหมดเป็นสกุลเงินต่างประเทศ แต่มีต้นทุนเป็นสกุลเงินต่างประเทศในสัดส่วนที่น้อยกว่า เช่น DELTA(FV@B40.0), HANA(FV@B25.0), KCE(FV@B12.0) และ SVI(FV@B3.00)  แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มชิ้นส่วน ASPS ให้น้ำหนัก “น้อยกว่าตลาด” อยู่ก่อนหน้า เนื่องจากยังให้น้ำหนักความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยไม่มีตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มชิ้นส่วนฯ

และกลุ่มส่งออกเกษตรและอาหาร เพราะมีสัดส่วนรายได้สกุลเงินสหรัฐฯมากกว่าต้นทุนในการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินบาท หากเงินบาทอ่อนค่าจะช่วยให้รายได้ของบริษัทในหน่วยบาทเพิ่มขึ้น    STA(FV@B12.0), KSL(FV@B2.60), TU(FV@B20), CPF(FV@B40.0) และ GFPT(FV@B14.0) ทำให้กลยุทธ์การลงทุนแนะนำหุ้นปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง ที่ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าเลือก  CPF และ TU เป็น Top pick

www.mitihoon.com