“จูราสสิค เวิลด์”
จุดขายใหม่แก้เกมท่องเที่ยวซบ
กอบกู้สินทรัพย์แสนล้านเจ้าสัวเจริญ
มิติหุ้น – วัดฝีมือ “วัลลภา ไตรโสรัส” เดิมพันแก้เเกมท่องเที่ยวซบ เดินหมากลงทุน 1 แสนล้านบาท กอบกู้เอเชียทีค ไฮไลท์ จูลาสสิค เวิลด์ เพิ่มมูลค่าสินทรัพย์บริหารในพอร์ตสู่ 3 แสนล้านบาท ปั้นไทยเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลก
นับถอยหลังตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 สั่นสะเทือนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมาหลายปี บมจ. แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) “วัลลภา ไตรโสรัส” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ AWC ลูกสาวเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี” ต้องเผชิญกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังไม่กลับไปสู่ระดับเดียวกันกับก่อนปี 2562 ขณะที่คนไทยเองก็ระมัดระวังการใช้จ่าย AWC แก้เกม “เพนพอยท์” ตลาดกำลังติดอยู่ในวังวนโลกเศรษฐกิจซบเซา ผันผวน เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ขาดความเชื่อมั่น เดินเกมรุกครั้งใหญ่ พลิกกลยุทธ์ด้วยการเปิดโครงการไอคอนิกระดับโลกอย่าง Jurassic World: The Experience ณ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ในเดือนกรกฎาคมนี้ หวังสร้างแรงกระเพื่อมครั้งสำคัญ ยกระดับการท่องเที่ยวไทย
“โลกไดโนเสาร์” หนึ่งในกิมมิค หวังเป็นความหวังช่วยปลุกชีพแหล่งท่องเที่ยวในเมืองกรุง หัวเลี้ยวหัวต่อของเศรษฐกิจท่องเที่ยวไทย และดันมูลค่าสินทรัพย์สู่เป้าหมาย 3 แสนล้านบาท ภายในปี 5 แปร
5 ปี ทะยานสู่สินทรัพย์บริหาร 3 แสนล้าน
AWC ตั้งเป้าทุ่มงบลงทุน 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2572 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ “Building a Better Future” โดยเน้นพัฒนาทรัพย์สินในทำเลศักยภาพ เสริมพอร์ตโฟลิโอคุณภาพสูง ครอบคลุมโรงแรม คอมเมอร์เชียล แหล่งค้าปลีก และแหล่งท่องเที่ยวจุดหมายปลายทางการใช้ชีวิต สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์
ตอบโจทย์กลยุทธ์เน้นการเติบโต ( Growth-Led Strategy) พัฒนาทรัพย์สินที่ก่อสร้างให้เป็นทรัพย์เพิ่มมูลค่าพร้อมทรัพย์สินเพื่อสร้าง Asset Stage Movement โดยการพัฒนาพื้นที่มิกซ์ยูส ในทำเลที่มีศักยภาพ ในแนวคิด โดย 90 % เป็น่สินทรัพย์ในธุรกิจถือครอง (Free Hold)
ผลลัพธ์เริ่มชัดเจนแล้วในไตรมาสแรกของปี 2568 ด้วยรายได้รวม 6,191 ล้านบาท เติบโต 13.6% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า กำไรสุทธิพุ่งแตะ 1,969 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% และจ่ายเงินปันผลสูงถึง 0.075 บาท/หุ้น เพิ่มขึ้นถึง 50% จากปีก่อน
“Jurassic World หัวขบวนท่องเที่ยวไทย
ท่ามกลางการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวที่ยังไม่เต็มร้อย AWC เลือกใช้กลยุทธ์สร้าง “แม่เหล็ก” ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่ยุทธศาสตร์ของตนเอง โดยการจับมือกับ NBC Universal และ Cityneon นำ Jurassic World: The Experience มาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไทย
นี่จึงเป็นอีกหนึ่งการลงทุนครั้งใหญ่ AWC ได้ทุ่มงบประมาณ 1,400 ล้านบาท เพื่อเปิดตัว Jurassic World: The Experience เป็นสวนสนุกธีมไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกันกับแผนลงทุนพัฒนาพื้นที่มิกซ์ยูส มูลค่า 22,000 ล้านบาท มีองค์ประกอบ โรงแรมและพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของบริษัท
ไฮไลท์สำคัญของโครงการ เปิดตัวโครงการ พร้อมกันกับเปิดตัวพร้อมภาพยนตร์ “Jurassic World ภาคใหม่” ที่จะเข้าฉายทั่วโลกช่วงกรกฎาคม 2568 วางกลยุทธ์ในการพัฒนาดังนี้
- นำเสนอประสบการณ์ Immersive Experience สุดสมจริง ทั้งไดโนเสาร์เคลื่อนไหว โซนป่าจูราสสิค และกิจกรรมอินเทอร์แอคทีฟ
- รองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยเฉพาะครอบครัว เด็ก และแฟนภาพยนตร์
- เปลี่ยนเอเชียทีคเป็น “Lifestyle & Entertainment Destination” ระดับโลกอย่างแท้จริง
จุดขายใหม่ เพิ่มค่าเช่า แรงส่ง EBITDA
เป้าหมายสำคัญคือ ต้องการยกระดับเอเชียทีค ในเฟส 2 ให้มีความคึกคัก เสริมทัพจุดหมายใหม่ สร้างมูลค่าใหม่ให้ AWC หลังจากเอเชียทีค เริ่มคงที่ หรือ ซบเซาตลาดบางกลุ่มเริ่มลดลง จูลาสสิค เวิลด์ จึงพัฒนาขึ้น เพื่อตอบโจทย์การเพิ่มจำนวนผู้เข้าใช้บริการ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้าพื้นที่หลักล้านคนต่อปี พร้อมกันกับ เพิ่มรายได้ค่าเช่า และการจับจ่ายในพื้นที่ค้าปลีกโดยรอบ ตลอดจน การขับเคลื่อนการเติบโตของสินทรัพย์ AWC ทั้งในแง่ของรายได้ (EBITDA) และมูลค่าตลาด (Valuation) ที่สำคัญ ยังช่วย เสริมภาพลักษณ์การเป็นเจ้าของ “Destination Asset” ที่น่าสนใจระดับสากล ในการสร้างแลนด์มาร์ค สำคัญ
Jurassic World: The Experience เป็นเพียงหนึ่งโปรเจ็กต์ในพอร์ตมหาศาลของ AWC แต่ศักยภาพของมันในการปลุกชีพแหล่งท่องเที่ยว ดึงดูดนักลงทุน และเสริมความแข็งแกร่งของพอร์ตสินทรัพย์ ควบคู่กับกระแสภาพพยนตร์ จึงใช้กระแสโลกเดินเกมถูก เพื่อปลุกพอร์ตแสนล้านให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง
จุดแข็งของ “Jurassic World: The Experience” ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว
การเปิดตัว “Jurassic World: The Experience” ณ เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์ ในเดือนกรกฎาคม 2568 เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ “Jurassic World” ภาคใหม่เข้าฉายพอดี ทำให้เกิดแรงส่งทางการตลาดอย่างมหาศาล ทั้งจากแฟนภาพยนตร์ทั่วโลกและผู้บริโภคทั่วไปที่คุ้นเคยกับแฟรนไชส์ไดโนเสาร์ระดับโลก เพราะเป็นครั้งแรก ที่นำประสบการณ์รูปแบบนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะนำไปสู่การสร้างแรงดึงดูดเป็นจุดหมายปลายทาง “Destination Attraction” สำหรับทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ ในการสร้างประสบการณ์ (Immersive Experience) กลุ่มครอบครัวและเยาวชนได้
ผลกระทบเชิงบวกต่อ “เอเชียทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์”
โครงการนี้จะเป็นแม่เหล็กดึงผู้คนเข้าสู่เอเชียทีค ซึ่งจะส่งผลบวกโดยตรงต่อ
- จำนวนผู้ใช้บริการ: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในช่วงเปิดตัวและฤดูกาลท่องเที่ยว
- รายได้จากค่าเช่า (Rental Yield): เพิ่มขึ้นตามอัตราผู้เช่าที่เติบโตและค่าเช่าที่สามารถปรับขึ้นได้จากความต้องการพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม
- แบรนด์และ Positioning: ทำให้เอเชียทีคกลายเป็น “Lifestyle & Entertainment Landmark” ของภูมิภาคที่ดึงดูดการจัดกิจกรรมระดับนานาชาติ
- เสริมแกร่งกลุ่มผู้เช่าและการค้าปลีก: ร้านอาหาร คาเฟ่ และสินค้าไลฟ์สไตล์รอบโครงการจะได้รับอานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของผู้บริโภค
แรงส่งต่อมูลค่าสินทรัพย์ให้กับ AWC
ผลกระทบทางตรงและอ้อมจากโครงการนี้ จะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินรวม (Gross Asset Value)
- เพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้: การมีผู้ใช้บริการมากขึ้นและอัตราค่าเช่าที่สูงขึ้นจากพื้นที่ในและรอบโครงการ Jurassic World จะเร่งการเติบโตของกระแสเงินสด
- เร่ง Asset Stage Movement: เอเชียทีคและโครงการเชื่อมโยงจะเปลี่ยนจากทรัพย์สินพัฒนา (Development Asset) ไปสู่ทรัพย์สินที่สร้างรายได้ (Operating Asset) ได้เร็วขึ้น
- ส่งเสริมความน่าสนใจของพอร์ต AWC: ในฐานะเจ้าของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจระดับโลก ส่งผลบวกต่อ Valuation รวมของทั้งบริษัท
- สนับสนุนภาพลักษณ์การเป็นผู้นำ Lifestyle Destination: เสริมยุทธศาสตร์ “Building a Better Future” ที่มุ่งสร้างสินทรัพย์คุณภาพที่มีศักยภาพสร้างรายได้ระยะ
แปลงกลยุทธ์สู่เป้าหมายธุรกิจ
การเปิดตัว Jurassic World: The Experience เป็นหนึ่งในไฮไลท์การลงทุนจากทั้งหมด 1 แสนล้านบาท เพื่อตอบโจทย์ กลยุทธ์หลัก “Building a Better Future” โดยมุ่งสร้างกระแสเงินสดมั่นคงและยั่งยืนผ่านการพัฒนาทรัพย์สินคุณภาพและพอร์ตโฟลิโอ ภายใต้ AWC
Juassic World จึงเป็น “ตัวเร่ง” สำคัญที่มีศักยภาพ ในการช่วยเพิ่มมูลค่าของเอเชียทีคให้ชื่อเสียงระดับโลก ส่งผลต่อการเติบโตของรายได้และผลตอบแทนต่อทรัพย์สิน ตามเป้าหมายเพิ่มมูลค่า ทำให้สินทรัพย์ภายใต้แบรนด์ AWC แข็งแกร่งขึ้น จาก 5 หมื่นล้านบาทเป็น 3 แสนล้านบาท นำไปสู่การสร้างมูลค่าให้กับนักลงทุน
ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2568 รายได้รวม 6,191 ล้านบาท (Total Revenue) 6,191 ล้านบาท million) เพิ่มขึ้น +13.6% จากปีก่อน (YoY) กำไรสุทธิ 1,969 ล้านบาท (Net Profit) 1,969 million) เพิ่มขึ้น +23% YoY EBITDA Yield 10.0% เพิ่มขึ้น 13.6% YoY การจ่ายเงินปันผล 0.075 บาทต่อหุ้น (Dividend Payment: THB 0.075 per share) เพิ่มขึ้น +50% จากปีก่อน (+50% YoY).
รายได้ของ AWC ที่เติบโตหลักมาจากธุรกิจโรงแรมและการบริการ: มูลค่า 3,642 ล้านบาท (Revenue from Hotels & Hospitality)) เพิ่มขึ้น +9.4% จากปีก่อน (+9.4% YoY).ราคาห้องเฉลี่ยต่อคืน (ADR) 6,663 บาท (Average Daily Rate (ADR) THB 6,663 per night) เพิ่มขึ้น +5.8% จากปีก่อน (+5.8% YoY).รายได้ต่อห้องที่ขายได้ (RevPAR): 4,992 บาท +6.0% YoY) EBITDA 1,497 ล้านบาท +6.9% YoY
ธุรกิจคอมเมอร์เชียลมีรายได้ 2,386 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +16.9% YoY EBITDA 2,055 ล้านบาท +17.8% YoY อัตราการรักษาผู้เช่า (Retention Rate) 99% จากกลยุทธ์เสริมสิทธิประโยชน์จากโรงแรมในเครือ (Tenant Retention Rate: 99%, driven by cross-benefits with affiliated hotels).
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon