PRINC Group (พริ้นซ์ กรุ๊ป) ห่วงใยคนไทย อย่าละเลยดูแลสุขภาพหน้าฝน โรคระบาดเจ้าประจำยังอยู่ ซ้ำร้าย ‘แอนแทรกซ์’ ผสมโรง แพทย์แนะรับประทานอาหารมีสุขอนามัยดี-รับวัคซีนป้องกัน

43

มิติหุ้น – เข้าสู่ฤดูฝน นอกจากจะต้องเผชิญกับฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ประชาชนยังต้องระวังโรคประจำฤดูฝน แต่ปีนี้มีความท้าทายใหม่เพิ่มขึ้น เมื่อกรมควบคุมโรคเตือนถึงการพบผู้ติดเชื้อแอนแทรกซ์ในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีผู้เสียชีวิตแล้วไม่น้อยกว่า 1 ราย

แอนแทรกซ์ หรือโรคผิวหนังอักเสบจากแบคทีเรีย Bacillus anthracis สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คน ผ่านการสัมผัสเนื้อสัตว์ป่วยโดยตรง หรือหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป ผู้ป่วยอาจมีไข้สูง แผลที่ผิวหนัง หรือในกรณีรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยที่ผ่านมา หน่วยงานสาธารณสุขได้ให้คำแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ หรือสัมผัสคนหรือซากสัตว์ที่เสียชีวิตไม่ทราบสาเหตุ หมั่นล้างมือให้สะอาด และหากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที นอกจากโรคระบาด แอนแทรกซ์ แล้ว ก็ยังมีกลุ่มโรคตามฤดูกาลที่มาในช่วงหน้าฝน เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู และโรคทางเดินอาหาร และโรค RSV ในเด็กที่กลับมาระบาดทุกปี

แพทย์หญิง มัลลิกา โมทะจิตต์ กุมารแพทย์ เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจเด็ก และ แพทย์หญิง เพ็ญรวี ขาวสำลี กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ เผยถึงโรคระบาดในเด็กในช่วงฤดูฝนที่ผู้ปกครองไม่ควรละเลยว่า ขณะนี้เด็กๆ กำลังเริ่มเปิดเทอม และช่วงฤดูกาลของการเจ็บป่วยกำลังจะมาถึง หลายๆบ้านกำลังเตรียมพร้อมตั้งรับ เพราะว่าเป็นเด็กเราจึงต้องยิ่งใส่ใจ ช่างเอ๊ะ ช่างสังเกตมากกว่าเดิม เนื่องจากทางเดินหายใจของเด็กๆ โดยเฉพาะในช่วงวัยแรกเกิดจนถึงวัยอนุบาลโครงสร้างของทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีความอ่อนตัวและขนาดเล็ก จึงง่ายต่อการอุดกั้นจากน้ำมูก,เสมหะและสิ่งแปลกปลอม หรือท่าทางที่พับงอช่วงคอจนเกินไป โดยอาการในเด็กๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ หายใจครืดคราด, ไอจาม, มีเสมหะและน้ำมูก, การหายใจผิดปกติไป และมีไข้ เป็นต้น

เมื่อพบอาการเหล่านี้ผู้ปกครองควรให้การดูแลเบื้องต้น เช่น เช็ดตัว ดูดน้ำมูก ล้างจมูก ป้อนยาตามอาการในกรณีเด็กโต และหากอาการเหล่านั้นรบกวนกิจวัตรหลักของเด็กๆ เช่น การกิน หรือการนอน ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันเพื่อการรับตรวจวินิจฉัยและรักษา เพราะอาการดังกล่าว อาจเป็นอาการนำของการเจ็บป่วยทางเดินหายใจรุนแรง  หรือ โรคเรื้อรังในอนาคตได้

นอกจากนี้ โรคระบบทางเดินหายใจในเด็กเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ไม่เพียงเพราะเด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย แต่ยังรวมถึงการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อปัจจัยกระตุ้น เช่น มลภาวะ หรือภูมิแพ้ ได้แก่ 1.ปอดอักเสบ (Pneumonia) ที่เกิดได้จากการติดเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส 2.หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) โดยเฉพาะที่เกิดจาก RSV (Respiratory Syncytial Virus) 3.โรคนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA) ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในระยะยาว การป้องกันและการดูแล คือพบแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินหายใจในเด็ก เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด ตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองเองควรมีการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กในปกครองปลอดภัยจากฝุ่น ควัน และสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน ที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อระบบหายใจ สำหรับเด็กในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือมีโรคประจำตัว ต้องได้รับการดูแลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด และเข้ารับการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุ หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป อาร์ เอส วี  (RSV) และป้องกันโรคติดเชื้อในระบบหายใจ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal Vaccine) รวมถึงการดูแลอย่างครอบคลุมโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย แข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะไม่มีใครรู้จักบุตรหลานเราดีเท่ากับผู้ปกครอง เพราะเด็กพูดหรือสื่อสารยังไม่ได้ดีเท่าผู้ใหญ่  ดังนั้นการเฝ้าสังเกตพฤติกรรมและอาการที่ผิดปกติไป จะทำให้สามารถให้ข้อมูลสำคัญกับแพทย์เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ด้าน นายแพทย์อภิชัย จิระประดิษฐา อายุรแพทย์ ประจำโรงพยาบาลพริ้นซ์ มุกดาหาร กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคแอนแทร็กซ์ที่เป็นประเด็นในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารว่า โรคแอนแทร็กซ์ เป็นโรคที่ไม่ได้พบในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี เป็นโรคที่เกิดในสัตว์ เช่น วัว กระบือ แพะ กวาง ในประเทศไทยเองมีการควบคุมโรคที่ดี จึงไม่ค่อยพบในไทย จากเหตุการณ์ในจังหวัดมุกดาหารที่พบคนไข้ป่วยติดเชื้อแอนแทร็กซ์ จากการรับประทานเนื้อดิบที่มีเชื้อทำให้เกิดอันตรายรุนแรงถึงชีวิตนั้น สิ่งที่คนทั่วไปต้องรู้ คือ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis มีความสามารถในการสร้างสปอร์เป็นเส้นใยที่ฟุ้งกระจายได้คล้ายกับเชื้อรา เมื่อเรารับเชื้อนี้จะแสดงอาการแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการรับเชื่อ ได้แก่ การสูดลมหายใจรับเชื้อจะมีอาการปอดติดเชื้อ หรือผ่านการรับประทานจะเปิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง และมีไข้ และสุดท้ายติดต่อผ่านบาดแผล คนไข้จะมีแผลและอาการไข้ขึ้น ซึ่งแผลจะมีลักษณะเหมือนถูกไฟก้นบุหรี่จี้และเป็นรอยไหม้ มีความชุ่มและเยิ้ม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับโรคนี้ คือ 1. เมื่อสงสัยว่าเป็นโรคนี้ให้พบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย เมื่อถูกตรวจพบจะได้รับยาฆ่าเชื้อทันที เพื่อระงับเชื้อให้หายได้ 2. เมือพบสัตว์เลี้ยงที่เสียชีวิตโดยไร้สาเหตุห้ามนำมารับประทานหรือชำแหละและสำผัสโดยตรงกับมัน 3. คนที่มีอาชีพเกษตรกรรมที่ต้องเลี้ยงสัตว์ ควรปรึกษาปศุสัตว์เพื่อรับวัคซีให้กับสัตว์ป้องกันโรคนี้ให้แพร่มาสู่คนได้ ขอให้ชทุกคนระมัดระวังเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีครับ

อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลในเครือ PRINC Group ที่มีทั้งสิ้น 15 แห่ง ใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ มีมาตราการรับมือกับโรคคระบาดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ คือ ผู้ปฎิบัติงานใกล้ชิดผู้ป่วย ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ, พ่นยา หรือ CPR ต้องสวมใส่ชุดป้องกัน PPE, ถุงมือ และ Surgical Mask หรือ N95 อีกทั้งประชาชนควรติดตามข่าวสารและประกาศอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเฝ้าระวังและรับมืออย่างมีสติคือกุญแจสำคัญในการป้องกันโรคในช่วงฤดูฝนนี้ หากมีปัญหาสุขภาพหรือสงสัยว่ามีอาการดังที่กล่าวมา สามารถเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือติดต่อ PRINC Hot Line กด 1208 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon