ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2025 เผยภาคธุรกิจไทยมุ่งขยายโอกาสในภูมิภาค รับมือผลกระทบจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ

12

 

มิติหุ้น – กรุงเทพฯ, 8 กรกฎาคม 2568 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงาน UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนแนวทางการปรับตัวของภาคธุรกิจไทยท่ามกลางความท้าทายจากการประกาศมาตรการ ภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา และความไม่แน่นอนของห่วงโซ่อุปทานโลก

การสำรวจจัดเก็บข้อมูลเมื่อมกราคม 2568 และสัมภาษณ์เพิ่มเติมในเดือนเมษายน 2568 พบว่า แม้ภาคธุรกิจไทยจะดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง แต่ยังแสดงศักยภาพในการปรับตัว ผ่านการขยายโอกาสในภูมิภาคอาเซียน เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยผลสำรวจพบว่า
ภายหลังจากการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกา มากกว่าร้อยละ 90 ของภาคธุรกิจคาดว่าจะเผชิญกับภาวะหยุดชะงักในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันร้อยละ 68 คาดว่าจะปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วยิ่งขึ้น และร้อยละ 60 มองว่าความยั่งยืนมีความสำคัญ โดยมีมาตรการภาษีของ
สหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยเร่งสำคัญ

นางวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO & Wholesale Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “ผลสำรวจ UOB Business Outlook Study ประจำปี 2568 สะท้อนถึงความสามารถของภาคธุรกิจไทยในการปรับตัวต่อความท้าทายระดับโลก ด้วยการมองหาโอกาสใหม่ในระดับภูมิภาค การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัล และการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ล้วนเป็นแนวทางที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในภาคธุรกิจในระยะยาว อย่างมั่นคง ธนาคารยูโอบีพร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจไทยอย่างเต็มที่ ด้วยโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ ความเชี่ยวชาญในตลาดภายในประเทศ และเครือข่ายที่แข็งแกร่งในภูมิภาคอาเซียน”

ภาษีสหรัฐฯ ฉุดความเชื่อมั่น จุดประกายธุรกิจเร่งปรับตัว

ผลสำรวจพบว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับตัวลดลงจากร้อยละ 58 ในปี 2024 เหลือร้อยละ 52 ภายหลังการประกาศมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กแสดง

ความกังวลมากที่สุด ปัจจัยหลักที่สร้างแรงกดดันคือ ต้นทุนการดำเนินงานและเงินเฟ้อ โดยร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม คาดว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 57 คาดว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คืออสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการให้บริการ

ภาคธุรกิจไทยได้ริเริ่มมาตรการสำคัญเพื่อรับมือสถานการณ์ ดังนี้

•ลดต้นทุน: ธุรกิจ 3 ใน 5 โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง (ร้อยละ 67) ได้ดำเนินการมาตรการลดต้นทุน

•เพิ่มรายได้: ธุรกิจจำนวนมากมุ่งขยายฐานลูกค้าใหม่และแสวงหาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์

• ต้องการการสนับสนุน: ธุรกิจให้ความสำคัญกับความช่วยหลือทางการเงิน (ร้อยละ 92) การสนับสนุนด้านการค้าและห่วงโซ่อุปทาน (ร้อยละ 65) และการให้คำปรึกษาหรือฝึกอบรม (ร้อยละ 50) เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการปรับตัว

ความกดดันในห่วงโซ่อุปทานผลักดันให้ธุรกิจไทยมุ่งเน้นตลาดภูมิภาค

ร้อยละ 90 ของธุรกิจไทยมุ่งเน้นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทว่ามาตรการภาษีของสหรัฐอเมริกากลับส่งผลให้ภาวะหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานทวีความรุนแรงขึ้น ร้อยละ 80 ของธุรกิจคาดว่าจะเผชิญความท้าทายเพิ่มเติมจากภาวะเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูง แนวทางสำคัญที่ธุรกิจจะใช้ในการรับมือ ได้แก่

• การวิเคราะห์ข้อมูล: ธุรกิจ 4 ใน 10 ราย นำการวิเคราะห์ข้อมูลมาใช้เพื่อการตัดสินใจที่รวดเร็วยิ่งขึ้นซึ่งกลายเป็นกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2024 แซงหน้ากลยุทธ์การกระจายความเสี่ยง

• ภูมิภาคเติบโตการค้าภายในภูมิภาคอาเซียน: ธุรกิจเปลี่ยนไปใช้ทางเลือกในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้การค้าภายใน

• ความต้องการสนับสนุน: ธุรกิจมองหามาตรการจูงใจทางภาษี การเข้าถึงเทคโนโลยี และการ
ฝึกอบรมแรงงาน

การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลเร่งเสริมความสามารถในการปรับตัว

การปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจ โดยเกือบร้อยละ 40 ของธุรกิจได้นำเครื่องมือดิจิทัลมาผสานรวมอย่างเต็มรูปแบบ และร้อยละ 68 คาดว่าจะเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหลังการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ทั้งนี้ ธุรกิจไทยมองว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ อาทิ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การขยายการเข้าถึงลูกค้าและการเข้าสู่ตลาดที่รวดเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี ความกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ต้นทุน และความ
เสี่ยงจากการละเมิดข้อมูล ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ต้องเผชิญ และกระตุ้นความต้องการด้านการฝึกอบรมและการวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะอุตสาหกรรม

ธุรกิจไทยเร่งเดินหน้าสู่ความยั่งยืน แม้ต้องเผชิญความท้าทาย

แม้ว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจจะตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืน แต่มีเพียงร้อยละ 53 เท่านั้นที่ได้นำแนวทางปฏิบัติไปใช้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศมาตรการภาษีของสหรัฐฯ มากกว่าร้อยละ 60 คาดว่าจะเร่งดำเนินมาตรการเพื่อความยั่งยืน อุปสรรคสำคัญ
ได้แก่ การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนที่สูง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมจ่ายราคาพรีเมียมสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ มากกว่าร้อยละ 30 อยู่ระหว่างการพิจารณานำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ พร้อมทั้งแสวงหาข้อมูลและคำปรึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางดังกล่าว

ธุรกิจไทยเร่งขยายสู่ต่างประเทศ โดยเน้นภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก

ธุรกิจไทยเกือบร้อยละ 90 มีแผนขยายตลาดสู่ต่างประเทศ โดยมากกว่าร้อยละ 50 คาดว่าจะเร่งดำเนินการหลังมาตรการเก็บภาษีของสหรัฐฯ ประเทศเป้าหมายหลัก ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม รองลงมาคือจีนและภูมิภาคเอเชียเหนือ ทั้งนี้ แรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการเติบโตของรายได้และกำไร แม้ยังเผชิญความท้าทายด้านจำนวนลูกค้าและความเข้าใจตลาดที่จำกัดในแต่ละประเทศก็ตาม ภาคธุรกิจจึงต้องการข้อมูลเชิงลึกการสนับสนุนทางการเงิน และการสร้างเครือข่ายพันธมิตรเพื่อขยายตลาดข้ามพรมแดน

แรงงานยังคงเป็นปัญหาหลักที่ธุรกิจต้องเผชิญ

ครึ่งหนึ่งของธุรกิจไทยยังคงเผชิญปัญหาด้านแรงงาน โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนและความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้และความคาดหวังของบุคลากรรุ่นใหม่ ผลการสำรวจยังชี้ว่า ธุรกิจเกือบร้อยละ 40 จึงประสบปัญหาในการรักษาบุคลากรที่มี ความสามารถ แนวทางรับมือกับปัญหานี้ ได้แก่ การเพิ่มค่าตอบแทน การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน และการสลับบทบาทหน้าที่ภายในองค์กร

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon