มิติหุ้น – การขับเคลื่อนธุรกิจ หนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ไม่อาจมองข้ามได้คือ “เงินทุนหมุนเวียน” ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงการดำเนินงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงการเติบโตระยะยาว การบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่แค่การควบคุมต้นทุน แต่ยังเป็นการสร้างโอกาสในการเสริมสภาพคล่อง เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และรับมือกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่ไม่แน่นอน
หลายครั้งที่ทุกอย่างกำลังไปได้สวย แผนงานเริ่มลงตัว ยอดขายทะยานขึ้น และโอกาสใหม่ ๆ กำลังเข้ามา แต่ทุกอย่างกลับต้องชะงักเพียงเพราะ “สายป่านไม่ยาวพอ” หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ขาดสภาพคล่องในการหมุนเวียนเงินทุนอย่างทันเวลา finbiz by ttb จึงขอแนะเทคนิคสำหรับผู้ประกอบการ SME เพื่อบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในโลกธุรกิจ ความเร็วในการคว้าโอกาส จะนำพาธุรกิจให้ไปต่อได้อย่างไม่มีสะดุด
ทำไม “เงินทุนหมุนเวียน” สำคัญในการดำเนินธุรกิจ
“เงินทุนหมุนเวียน” คือการมี “เงินพร้อมใช้” ที่ช่วยให้ SME หมุนธุรกิจต่อได้ รักษาการจ่ายค่าใช้จ่ายประจำ ต่อยอดโอกาส และพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ จึงจะเรียกว่าเป็นธุรกิจที่มี “สภาพคล่อง” ซึ่งหากไม่มีสภาพคล่อง การไปให้ถึงฝั่งฝันก็จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ธุรกิจจะมี “เงินทุนหมุนเวียน” และ “สภาพคล่อง” ให้ดีได้อย่างไร
หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนให้มีสภาพคล่อง คือ “สินเชื่อธุรกิจ” ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะ และยังมีรูปแบบของการบริหารสินเชื่อระยะยาว เพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องได้ด้วยเช่นกัน ในธุรกิจที่มีสินเชื่ออยู่แล้ว การ “รีไฟแนนซ์” เป็นอีกช่องทางที่ธุรกิจต้องให้ความสนใจ เพราะจะช่วยให้ภาระหนักอึ้งในแต่ละเดือน เปลี่ยนเป็นภาระที่เบาลงได้ โดยการ “บริหารสินเชื่ออย่างมีแผน” ที่ดี จะเป็นสิ่งที่สร้างโอกาสให้กับธุรกิจ
ประโยชน์ของ “สินเชื่อ” มีดีกว่าแค่ “เงิน”
- สินเชื่อ เพื่อโอกาส “สร้างกำไร” ถ้าบริษัทใช้เงินจากกำไรไปลงทุน บริษัทจะเสียเวลาในการสร้างกำไรเพื่อไปลงทุน ในขณะที่กำไรที่สะสมก็จะลดลงเรื่อย ๆ หากใช้การกู้เข้ามาช่วย จะลดเวลาในการสะสมกำไรลง และยังคงเก็บกำไรไว้เพื่อเสริมสภาพคล่องได้อีกด้วย ขณะที่ “การขอสินเชื่อเพื่อมาลงทุน” จะช่วยให้บริษัทมีเงินมากพอและมีอำนาจต่อรอง เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น
- สินเชื่อ ช่วย “ลดภาษี” การขอสินเชื่อที่ดี คือ “การวางแผน ขอสินเชื่อเพื่อใช้” ไม่ใช่ขอเมื่อต้องใช้ ต้องวางแผนเพื่อดำเนินการและคิดเผื่อในส่วนของงบการเงิน โดยประโยชน์ที่จะได้รับคือ การใช้อัตราส่วนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยไปลงเป็นรายจ่ายบริษัททางบัญชี เพื่อให้โดยรวมแล้วช่วยลดภาษีทางธุรกิจได้
- สินเชื่อ “สร้างความพร้อม” สำหรับโอกาสในอนาคต “เงินทุน” เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บริษัทพร้อมตอบรับโอกาสใหม่ ๆ ที่อาจไม่รู้มาก่อนล่วงหน้า ดังนั้นในทุก ๆ ปีแต่ละบริษัทต้องวางแผนเผื่อส่วนเติบโตด้วย
- สินเชื่อ “การกระจายความเสี่ยง” คือการขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละจังหวะเวลา ดังนั้นเงินที่ได้มาจึงมีไว้เพื่อหมุนเวียนใช้ในบริษัท และนำเงินบางส่วนไปลงทุนต่อยอดแหล่งอื่น เพื่อลดความเสี่ยงหากบริษัทหลักสะดุด
เทคนิคการ “รีไฟแนนซ์” ช่วยลดภาระ ทำให้ในแต่ละเดือนมีสภาพคล่องมากขึ้น และยังสามารถได้วงเงินเพิ่มจากสินทรัพย์เดิมอีกด้วย
- การรีไฟแนนซ์จะช่วยให้เงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง ด้วยการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น
- ประโยชน์จากส่วนต่างของเงินที่ต้องผ่อนแบบเดิมก่อนรีไฟแนนซ์ และแบบใหม่ ธุรกิจสามารถนำเงินส่วนต่างนั้นไปบริหารส่วนอื่น ๆ ของธุรกิจได้ ช่วยให้ธุรกิจเหมือนมีอากาศหายใจแต่ละเดือนมากขึ้น
- ได้วงเงินเพิ่มจากสินทรัพย์เดิม รีไฟแนนซ์ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่สามารถทำให้ผู้ประกอบการได้วงเงินที่สูงขึ้น เพราะมูลค่าของสินทรัพย์เดิมอาจเพิ่มขึ้นได้ตามกาลเวลา เช่น ที่ดิน หรือผู้ประกอบการอาจเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า มาเป็นหลักประกันแทนก็ได้
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon