5 อันดับข่าวเด่นมิติหุ้นภาคเช้า

359

อันดับที่1 MTLS เดิยสายโรดโชว์ สิงคโปร์-ฮ่องกง-สหรัฐฯ-ยุโรป หวังให้สถาบันถือครองหุ้นเพิ่มจากปัจจุบัน 12%

ปริทัศน์ เพชรอำไพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.เมืองไทย ลิสซิ่ง  หรือ MTLS เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ โรดโชว์ไปยังประเทศ สิคงโปร์ เพื่อพบสถาบัน ราว 20 ราย  โดย 10ราย เป็นผู้ที่ถือหุ้นMTLSอยู่แล้ว ในขณะที่อีก 10 ราย มีความสนใจที่จะเข้าถือMTLS เป็นอย่างมาก จากพื้นฐานธุรกิจบริษัทที่มีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทเตรียมเดินทางไปยังประเทศฮ่องกง เพื่อโรดโชว์ให้ข้อมูลแก่สถาบันต่อไป  ขณะเดียวกันช่วงครึ่งปีหลัง มีแผนโรดโชว์ที่ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐ และโซนยุโรป  ต่อไป ทั้งนี้ความคาดหวังจากการโรดโชว์นั้น เพื่อต้องการให้มีสถาบันทุกขนาดเข้ามาถือครองหุ้นของMTLS  เพื่อให้ราคาหุ้นมีความเสถียรภาพ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน  ซึ่งสถาบันส่วนใหญ่นั้นจะเข้ามาถือครองหุ้นMTLS ในระยะ 5 ปีขึ้นไป   โดยปิดบัญชีเมื่อช่วงปี 2560 สถาบันถือครองหุ้นMTLSอยู่ทั้งสิ้น 12% เบื้องต้นประเมินว่าภายในปีนี้ สถาบันจะเข้ามาถือหุ้นหุ้นเพิ่มอีกค่อนข้างมาก

อันดับที่ 2 CKP เล็งขยายกำลังผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำในลาวเพิ่มกว่า 1,000 MW ตั้งงบลงทุนปี 62 ราว 1,700 ลบ ขยายกำลังผลิต  โรงไฟฟ้าทั้งในประเทศ-ตปท.

ผู้สื่อข่าว  “มิติหุ้น” รายงานว่า บมจ.ซีเค พาวเวอร์ หรือ CKP โดยนายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ  เปิดเผยว่า บริษัทอยู่ระหว่างเจรจาเข้าลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาว เพิ่มอีก 1 โครงการ กำลังการผลิตมากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ โดยเป็นลักษณะการร่วมลงทุนกับเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ คาดจะได้ข้อสรุปแผนกลางปีนี้  ทั้งนี้ บริษัทตั้งงบลงทุนปี 2561-2562 ประมาณ 1,700 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนการลงทุนสำหรับโครงการไซยะบุรีส่วนที่เหลือในปีนี้ 1,000 ล้านบาท และปีหน้า 500 ล้านบาท และใช้เงินลงทุนประมาณ 200-300 ล้านบาทขยายการลงทุนโครงการโซล่าร์ฟาร์มในประเทศ ขนาดกำลังการผลิต 10-20 เมกะวัตต์ สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำไซยะบุรี กำลังการผลิต 1,285 เมกะวัตต์ ในประเทศลาว  ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จแล้วประมาณ 89% ซึ่งจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ หรือ COD ตามแผน ในเดือนตุลาคม ปี 2562 โดยโครงการนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 7,400 ล้านหน่วยต่อปี จำหน่ายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย 95% และ สปป.ลาว 5% งบการลงทุนรวมกว่า 150,000 ล้านบาท มีอัตราการรับซื้อไฟฟ้าที่ประมาณ 2.10 บาท/หน่วย

อันดับที่ 3 SINGER มั่นใจปีนี้รายได้โต 35% พร้อมวางงบลงทุน 3พันลบ. หวังเพิ่มสินค้าใหม่-ขยายสาขาเพิ่ม

นายกิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SINGER มั่นใจปีนี้ธุรกิจสดใส ตั้งเป้ารายได้รวมเติบโต 35% จากปีก่อน และวางงบลงทุนไว้กว่า 3,000 ล้านบาท จากการขยายสินค้าและบริการ โดยเน้นการขายสินค้าเพื่อการพาณิชย์ที่เจาะกลุ่มลูกค้าประเภทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาทิ ตู้แช่ เครื่องทำน้ำแข็ง ตู้เติมน้ำมันหยอดหรียญ      และตู้เติมเงินรูปแบบใหม่ ผ่านตัวแทนจำหน่ายของบริษัทฯ รวมทั้งใช้ความได้เปรียบสำหรับช่องทาง      รากหญ้า เร่งยอดธุรกิจสินเชื่อรถทำเงิน บริการสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ รวมถึง สินเชื่อไมโคร และนาโนไฟแนนซ์ ทั้งนี้ Singer มีแผนขยายสาขาและช่องทางการจัดจำหน่าย      โดยเปิดตัว “Singer Franchise” ซึ่งเน้นคอนเซป ใครๆ ก็เป็นเจ้าของธุรกิจซิงเกอร์ได้ ตั้งเป้าขยายสาขา เป็น 350 สาขา ภายในปี 2563

อันดับที่ 4 WHAUP ทุ่มกว่า 2 พันลบ.ลุยโรงไฟฟ้า 65 MW

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” รายงานว่า นายวิเศษ  จูงวัฒนา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) กล่าวว่า สำหรับงบลงทุนของกลุ่มในจำนวน 6.6 พันล้านบาทนั้นเป็นสัดส่วนของ WHAUP ราว 1,800 – 2,000 ล้านบาท สำหรับการลงทุนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า 4 โครงการตามสัดส่วนการถือหุ้น 65 เมกะวัตต์ คาดเปิดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์(COD) ได้ปี 2561-2562 นอกจากนั้นเป็นการลงทุนในธุรกิจบริหารจัดการน้ำและ การลงทุนในธุรกิจค้าปลีกก๊าซธรรมชาติในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช (NGD) นอกจากนี้แล้วยังอยู่ระหว่างการศึกษาลงทุนซื้อกิจการโรงไฟฟ้าถ่านหินปากเหมือง และก๊าซธรรมชาติในประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันนี้ทางนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเมียนมายังเสนอให้ WHAUP เข้าไปลงทุนผลิตไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าซึ่งคาดว่าใช้ระยะเวลากว่าปีถึงจะได้ข้อสรุป สำหรับธุรกิจ NGD ในเฟสแรกนั้นมีลูกค้าแล้ว 3-4 รายที่รอเซ็นสัญญาคาดว่าจะดำเนินการขายก๊าซได้ในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนเฟส2 คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ไตรมาส1/2562 ส่วนแนการลงทุนโซลสาร์รูฟท็อปมีพื้นที่หลังคาของนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ทั้งหมดในประเทศไทยสามารถรองรับได้กว่า 1,000 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ครึ่งปีหลัง 2561 นี้

อันดับที่ 5 SCN ทุ่มงบ 114.40ลบ.เข้าซื้อหุ้นสามัญ 99% ใน” วี.โอ.เน็ต ไอโอดีเซล เอเชีย”จากVTE

นางพิมพ์วนิฏา จรัสปรีดา กรรมการและเลขานุการ บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN เปิดเผยว่า ได้มีมติอนุมัติตามแนวทางให้บริษัทเข้าซื้อหุ้นสามัญร้อยละ 99.99 ของบริษัท วี.โอ.เน็ต ไอโอดีเซล เอเชีย จำกัด (VON) ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิถาค จากบริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (VON) ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากบริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาขน)(VTE) ซึ่งมิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับบริษัท โดยเงินรวมทั้งสิ้น 114.40 ล้านบาท จาก VTE จากบริษัท วินเทจ วิศวกรรม จำกัด (มหาชน) VON ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเลขที่ VSPP-PEA-031/2555 กับกาไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 ที่ ราคาค่าไฟพื้นฐานบวกส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) 6.50 บาทต่อหน่วยซึ่งยังเหลือระยะเวลาอีก 6.5 ปี โดยโรงไฟฟ้าเริ่มดำเนินกาผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2557 และยังเหลือระยะเวลาโครงการอีก 21.5 ปี สำหรับเงินทุนมาจากเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทประมาณ 24.4 ล้านบาท และจากสถาบันการเงิน ประมาณ 90 ล้านบาท