ADVANC ถูกอนุญาโตฯชี้ขาด ชำระเงิน 31,076 ลบ.พร้อมดอกเบี้ยแก่ TOT

400

มิติหุ้น-บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) โดย นายธีร์ สีอัมพรโรจน์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน แจ้งว่า ตามที่บริษัท และบมจ.ทีโอที(ทีโอที) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทสถาบันอนุญาโตตุลาการ เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 และวันที่ 30 พ.ย.2558 ตามลำดับ โดยทีโอทีเรียนร้องให้บริษัทชำระเงินผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมจากการทำข้อตกลงติ่ท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริษัทดทรศัพท์เคลื่อนที่ ครั้งที่ 6 และครั้งที่ 7 จำนวน 62,774 ลบ. โดยกล่าวอ้างว่าการทำจ้อตกลงต่อท้ายสัญญาอนุญาต ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2554 กรณีการลดส่วนแบ่งรายได้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินและครั้งที่ 7 เมื่อ 20 ก.ย. 2545 กรณีหากหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่าย (roaming) เป็นการแก้ไขสัญญาในสาระสำคัญที่ให้ทีโอทีได้ประโยชน์ตอบแทนที่ต่ำกว่าที่กำหนดในสัญญาหลักนั้น

ขณะที่บริษัทไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดดังกล่าวจึงเตรียมยื่นคำร้องเพื่อขอเพิกถอนคำชี้ขาดต่อศาลปกครองกลางภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ได้รับคำชี้ขาดต่อไป  ทั้งนี้เนื่องจากข้อพิพาทดังกล่าวยังไม่เป็นที่สิ้นสุด และบริษัทจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ซึ่งผลของคำชี้ขาดดังกล่าวไม่กระทบต่อฐานะการเงินและสภาพคล่อง หรือความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท

ด้านบทวิเคราะห์บล.หยวนต้า(ประเทศไทย) ระบุว่าตามที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ชำระเงินจำนวน 3.1 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือนให้กับ TOT ที่มาของข้อพิพาทดังกล่าวเกิดจากการที่ TOT เรียกร้องให้ ADVANC ชำระเงินค่าผลตอบแทนเพิ่มเติม 6.27 หมื่นล้านบาท จากการทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาสัมปทานโทรศัพท์คลื่น 900 MHz (ยุค 2G) โดยกล่าวอ้างว่าข้อตกลงต่อท้ายครั้งที่ 6 (ปี 2544) กรณีลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการมือถือแบบเติมเงิน (เปลี่ยนจากขั้นบันไดมาเป็นคงที่ที่ 20%) และครั้งที่ 7 (ปี 2545) กรณีการหักค่าใช้จ่ายการใช้เครือข่ายร่วม (Roaming) จากรายได้ก่อนคิดส่วนแบ่งรายได้ เป็นเหตุให้ TOT เสียประโยชน์ คือ ได้ผลประโยชน์ต่ำกว่าที่กำหนดในสัญญาหลัก

สถานะปัจจุบันยังประเมินน้ำหนัก Sentiment ลบมากกว่าผลกระทบในทางพื้นฐาน เนื่องจากกระบวนการชั้นอนุญาโตตุลาการถือเป็นขั้นตอนแรก แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน ยังมีกระบวนการที่สามารถยื่นอุทธรณ์ในชั้นศาลได้ผ่านช่องทางศาลปกครอง กรณีเลวร้าย คาด ADVANC จะต้องตั้งสำรอง ในงบกำไรขาดทุน โดยหากใช้สมมติฐานคำนวณดอกเบี้ยส่วนเพิ่มถึงปัจจุบัน (ม.ค. 63) จะคิดเป็นรายจ่ายราว 4.3 หมื่นล้านบาท (รวมดอกเบี้ยถึง ม.ค. 63) คิดเป็นผลกระทบ 14.4 บาทต่อหุ้น ภาพรวมฝ่ายวิจัยยังคงคำแนะนำทางพื้นฐานให้ ซื้อ จากจุดเด่นความมั่นคงสูงจากการเป็นผู้นำกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยความเสี่ยงระยะสั้นจากปัญหาข้อพิพาทในอดีต จังหวะเข้าลงทุนช่วงนี้จึงควรพิจารณาเมื่อราคาอ่อนตัวรับความเสี่ยงไปก่อน

www.mitihoon.com