KTC แรงเข้าตาโบรก-ขยับกำไรรอบใหม่

403

ผู้สื่อข่าว “มิติหุ้น” บมจ.บัตรกรุงไทย หรือ KTC โดย “บล.เคทีบี (ประเทศไทย)” เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยแนะนำ “เพิ่มน้ำหนัก” เข้าลงทุนในหุ้น KTC เพราะผลงานจะสร้างการเติบโตในระยะยาว โดยในปี 63 ทางผู้บริหารชี้แจ้งว่าธุรกิจจะเติบโตในทุกภาคส่วน โดย 1. คาดยอดใช้จ่ายผ่านบัตรจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อน ซึ่งการใช้จ่ายผ่านบัตรในปี 61/62 ขยายตัวเพียง 9.2% และ 10.6% ตามลำดับ ขณะที่การใช้จ่ายผ่านบัตรเดือน ม.ค.-ก.พ.63 มีการขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว-การท่องเที่ยวที่ลดลง-การ disruption ธุรกิจ delivery ทำให้ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรหมวดร้านอาหารลดลง

  1. ได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากการขอความร่วมมือจาก ธปท. สำหรับการผ่อนชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% จากเดิม 10% เนื่องจากเป็นการให้สิทธิเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก “โคโรนา” เท่านั้น และต้องมีเอกสารยืนยันผลกระทบ ซึ่งบริษัทจะพิจารณาเป็นรายกรณี โดย ณ ปัจจุบันบริษัทยังไม่ได้รับการแสดงความจำนงค์เข้ามา

3.Cost to income จะปรับตัวลงจากการใช้ระบบ digital มากขึ้น โดยปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนา และปรับเปลี่ยน (reengineering)

4.ได้รับผลบวกจากการบังคับใช้ TFRS9 จากค่าใช้จ่ายสำรองฯลดลง เพราะ ECL model จะไม่ตั้งสำรองลูกหนี้ NPLs 100% เหมือนในอดีต ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยที่รับรู้จาก NPLs เพิ่มขึ้นจะชดเชยด้วยรายได้หนี้สูญรับคืนที่ลดลง จากการที่บริษัทจะตัดจำหน่ายหนี้สูญได้ช้าลง

  1. บริษัทมีแผนที่จะออกหุ้นกู้ในช่วงกลางปี มูลค่า 1.0-1.2 หมื่นล้านบาท เพื่อ refinance หุ้นกู้ชุดเก่าที่จะหมดอายุ และรองรับการขยายธุรกิจ ทั้งนี้บริษัทอยู่ระหว่างการขอวงเงินการออกหุ้นกู้จากผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นประมาณ 3.0 หมื่นล้านบาท จากวงเงินการออกหุ้นกู้คงเหลือที่ลดลงอยู่ที่ 1.0 หมื่นล้านบาท

โดยปัจจัยข้างต้น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวกมากขึ้นจาก 1.การบังคับใช้ TFRS9 ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองฯจะลดลงมากขึ้น ฝ่ายวิจัยคาด credit cost ปี 63  จะลดลงอยู่ที่ 597 bps จากปีก่อนที่ 784 bps หนุนโดยระดับสำรองฯของ NPLs, สินเชื่อใหม่ที่ลดลง และการตัดจำหน่ายหนี้สูญที่ช้าลง

ส่วน 2.cost to income จะปรับตัวลงจากปีก่อนที่อยู่ที่ 44% ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดปี 63 ที่ 45% เป็นผลของ digitalization, 3.ได้รับผลบวกจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่ที่มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะลดลง 25 ล้านบาทจากการออกหุ้นกู้ชุดใหม่จำนวน 1.0 หมื่นล้านบาท ที่ทุกๆอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง 0.25 bps จากต้นทุนทางการเงินของหุ้นกู้เฉลี่ยคงเหลือที่ 3.0% และ 4.ระดับ NPLs จะไม่เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากบริษัทมีการปล่อยสินเชื่อระมัดระวังมากขึ้นในสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และเป็นการเพิ่มรายได้ดอกเบี้ยในระยะยาวจากสินเชื่อที่มีคุณภาพดี  ดังนั้นแนะนำ “ซื้อ” เป้าหมาย 45.00 บาท

ด้าน “บล.เคจีไอ” เปิดเผยว่า ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 62/64 ของ KTC ขึ้นอีก 12%/18%ภายใต้สมมติฐานการปรับลดการกันสำรองปี 63/64 ลงเหลือ 5.1 และ 4.1 พันล้านบาท (จากเดิม 6.0/6.2 พันล้านบาท) คิดเป็น credit cost ที่ 526bps/375bps (ลดลงจากเดิมที่ ปีละ720bps) มองว่า upside/downside จะขึ้นอยู่กับการติดตามหนี้ NPL ซึ่งหากใช้สมมติฐานอัตราการติดตาม NPL คืนมาได้ 50% ค่าใช้จ่ายกันสำรองน่าจะอยู่ที่ปีละประมาณ 3.5 พันล้านบาท และจะอยู่ที่ 3 พันล้านบาทหากสามารถติดตาม NPL ได้ 40% (สมมติฐานในกรณีฐานของเราอยู่ที่ 35%) เมื่อใช้ P/E ที่ 18x (re-rate จากเดิมที่ 15.5x) ทำให้ได้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 48 บาท (จากเดิมที่ 36 บาท)

www.mitihoon.cKTC