ตลาด ลั่น บจ. มียอดขายและกำไรสุทธิฟื้นตัวหลังมาตรการผ่อนคลาย

48

 

 

มิติหุ้น-ไตรมาส 3/2563 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมียอดขายและกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า หลังมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ผ่อนคลายลง แต่ผลประกอบการ 9 เดือนแรก ยังคงลดลงจากแรงกดดันที่ผ่านมา

นายแมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บจ. จำนวน 697 บริษัท หรือคิดเป็น 94.3% จากทั้งหมด 739 บริษัท (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน หรือ NC บริษัทที่แก้ไขการดำเนินงานไม่ได้ตามกำหนด หรือ NPG กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานนำส่งผลการดำเนินงานงวด เดือนแรกของปี 2563 และไตรมาส 3/2563 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 พบว่า บจ. ที่รายงานผลกำไรสุทธิมีจำนวน 483 บริษัท สัดส่วนคิดเป็น 69.3% ของ บจ. ที่นำส่งงบการเงินทั้งหมด

ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/2563 ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดย บจ. มียอดขายรวม 2,495,389 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6% มีกำไรจากการดำเนินงานหลัก 216,831 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 46.2% และมีกำไรสุทธิ 137,576 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.4% อีกทั้งมีความสามารถการทำกำไรดีขึ้น คือ มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin) 23.5% จาก 22.2% มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit margin) 8.7% จาก 6.5% และมีอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) 5.5% จาก 4.8% ซึ่งผลการดำเนินงานของ บจสอดคล้องกับรายงานการเติบโตของเศรษฐกิจไทย (Real GDP Growth Rate) ในไตรมาส 3/2563 ที่ 6.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ที่ผ่อนคลายช่วยให้ บจ. เกือบทุกหมวดธุรกิจฟื้นตัวดีขึ้น มียอดขายและกำไรสุทธิปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร สินค้าเวชภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่า มี บจ. บางแห่งในหมวดธุรกิจสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ขยายไปสู่ธุรกิจด้านดิจิทัล (Digital platform) การจัดเก็บข้อมูลและจัดการฐานข้อมูลออนไลน์ (Cloud storage and Data center) ที่ตอบสนองวิถีชีวิตแบบใหม่ (New normal) เติบโตได้ดีเช่นกัน สำหรับหมวดธุรกิจควรติดตามใกล้ชิด คือ หมวดธุรกิจด้านการเงินซึ่งมีภาระการตั้งสำรองสำหรับหนี้เสียเพิ่มขึ้น และธุรกิจที่พึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น หมวดขนส่ง และหมวดท่องเที่ยวและสันทนาการ  นายแมนพงศ์ กล่าว

อย่างไรก็ดี ผลกระทบของสงครามราคาน้ำมันและโรคระบาดไวรัส COVID-19 ได้ส่งผลการดำเนินงานในช่วง เดือนแรกของปี 2563 บจ. มียอดขายรวม 7,539,285 ล้านบาท ลดลง 15.1% โดยมีกำไรจากการดำเนินงานหลัก (Core profit) อยู่ที่ 494,119 ล้านบาท ลดลง 28.4% และมีกำไรสุทธิ 327,429 ล้านบาท ลดลง 51.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจาก 21.3% เป็น 20.5% มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานหลักลดลงจาก 8.4% เป็น 5.4% และมีอัตรากำไรสุทธิลดลงจาก 7.8% เป็น 3.7% สำหรับฐานะการเงินของกิจการ ณ สิ้นไตรมาส 3/2563 บจ. ไทยมีหนี้สินเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (ไม่รวมอุตสาหกรรมการเงินปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.63 เท่า เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ 1.35 เท่า

ด้านผลการดำเนินงานของ บจ. ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ช่วง เดือนแรกของปี 2563 มียอดขายรวม 121,613 ล้านบาท ลดลง 8.5% มีกำไรจากการดำเนินงานหลัก 4,640 ล้านบาท ลดลง 5.6% และมีกำไรสุทธิ 2,613 ล้านบาท ลดลง 69.4% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน

www.mitihoon.com