รายงานพิเศษ : น้ำหนักหุ้นในดัชนีเปลี่ยน เปิดโอกาสเก็งกำไรระยะสั้น???

1496

จะเกิดอะไรขึ้น หากปรับเกณฑ์Free Float? ทาง บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) ระบุถึงประเด็นจากกระแสข่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เตรียมปรับปรุงเกณฑ์เกี่ยวกับ Free Float และการคำนวณดัชนีเพื่อแก้ปัญหาการเก็งกำไรผิดปกติต่อหุ้นสภาพคล่องต่ำ ที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่องไปสู่น้ำหนัก (Weight) ของหุ้นแต่ละตัวในดัชนี ทั้งการเพิ่มและลดน้ำหนัก

สำหรับมุมมองในเชิงกลยุทธ์เป็นโอกาสของการเก็งกำไร เพื่อรับ Flow จาก Passive Fund ที่จำเป็นต้องปรับน้ำหนักตาม หากมีการปรับเกณฑ์จริง คาดหุ้นหลักที่ได้รับการเพิ่มน้ำหนัก เช่น BBL, SCB, SCC, KBANK, BDMS, INTUCH เป็นต้น ในทางกลับกัน หุ้นที่มีความเสี่ยงอาจถูกลดน้ำหนักน่าจะเคลื่อนไหว Underperform ดัชนีตลาดในช่วงนี้ ทั้งนี้ นักลงทุนจำเป็นต้องติดตามต่อเนื่องว่า เกณฑ์ที่ ตลท.นำมาใช้จริงจะมีเงื่อนไขอย่างไรและจะเกิดขึ้นเมื่อใด

นำ Free Float คำนวณร่วม Market Cap. เพื่อแก้ปัญหาเก็งกำไรหุ้นสภาพคล่องต่ำ
แนวทางการแก้ปัญหาการเก็งกำไรผิดปกติต่อหุ้นที่มีสภาพคล่องการซื้อขายต่ำ ด้วยการนำ Free Float มาร่วมคำนวณมูลค่ตลาด (Market Cap.) ของหุ้นแต่ละหลักทรัพย์ เรียกว่า วิธี Free Float Adjusted Market Cap. เพื่อให้ดัชนี้สามารถสะท้อนสภาวะตลาดได้ตรงกับความเป็นจริงของราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนโดยภาพรวม เนื่องจากก่อนหน้านี้ หุ้นบางหลักทรัพย์ที่มี Free Foat ต่ำ แต่ราคาเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของดัชนี SET INDEX บริษัทประเมินว่่าหากมีการนำเกณฑ์ใหม่มาใช้ ความผันผวน (Volatlity) ของ SET INDEX มีแนวโน้มลดลง และมีโอกาสน้อยลงที่หุ้นสภาพคล่องต่ำแต่ราคาขึ้นลงรุนแรง จะสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อดัชนี

น้ำหนักหุ้นในดัชนีเปลี่ยน เปิดโอกาสเก็งกำไรระยะสั้น

เราได้ทำการทดลองคำนวณเบื้องต้น ด้วยการนำ Free Float ของหุ้นแต่ละตัวในดัชนี SE100 มาคูณกับ Market Cap. ของหุ้นตัวนั้นๆ จากนั้นคำนวณน้ำหนักของหุ้นแต่ละตัว ต่อดัชนี SET100 โดยหุ้นที่คาดว่า จะได้รับการเพิ่มน้ำหนัก เช่น BBL SCB, SCC, KBANK, BDMS, INTUCH เป็นต้น

ในทางกลับกัน หุ้นที่เสียประโยชน์เพราะมี โอกาสถูกลดน้ำหนัก เช่น DELTA, AOT, GULF, ADVANC และ GPSC เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า (1) หุ้นส่วนใหญ่ที่มีโอกาสได้รับการเพิ่มน้ำหนักในดัชนี คือ กลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ เช่น BBL, SCB และ KBANK เพราะมี Free Float ในระดับสูงเกิน 70% และมี Maket Cap. ค่อนข้างใหญ่ระดับแสนล้านบาท

และ (2) หุ้นบางหลักทรัพย์สามารถเปลี่ยนอันดับของ Weight ต่อดัชนี SET100 ได้มากถึง 20 อันดับ ซึ่งอาจจะมีผลต่อการคำนวณหุ้นเข้า-ออกดัชนี SET50-SET 100 ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของหุ้นรายตัวในดัชนี ทำให้กองทุนที่ลงทุนตามดัชนีหรือ Passive Fund มีความจำเป็นต้องปรับน้ำหนักตาม เพื่อลด Tracking Ero เมื่อเทียบกับดัชนีอ้างอิง

ทั้งนี้ อาจเป็นจังหวะให้นักลงทุนได้เข้ามาเก็งกำไรก่อนการปรับน้ำหนักของกองทุน เน้นที่ได้รับการปรับเพิ่มน้ำหนักมากเป็นหลัก จากการรวบรวมข้อมูลของเรา พบว่ากองทุน Passive Fund มีมูลค่ำ NAV รวมกันราว 5 หมื่นล้านบาท และกองทุนที่ใช้ดัชนี SET50 เป็น Benchmark มีมูลค่ารวมกันราว 9 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายของกระแสเงินทุนเป็นหลัก ไม่ได้กระทบต่อปัจจัยพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนแต่อย่างใด

ปัจจัยติดตามจากนี้ี
ขณะนี้ ตลท. ยังไม่ได้ประกาศมาตรการใหม่อย่งเป็นทางการ การคำนวณของเราเป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ประเด็นที่นักลงทุนต้องติดตามต่อจากนี้ คือ (1) นิยามและเกณฑ์การคำนวณ Free Float มีโอกาสถูกปรับเปลี่ยน นั่นทำให้ผลลัพธ์ของการคำนวณ Free Float Adjusted Market Cap. แตกต่างจากการคำนวณของเราอ้างอิงอยู่บนข้อมูล Free Float ณ ปัจจุบัน (Fig. 3 แสดงนิยามของ Free Float ในปัจจุบัน)

(2) การปรับเกณฑ์การคำนวณหุ้นเข้า-ออก ดัชนี SET50-SET100 จะเกิดขึ้นตามมาด้วยหรือไม่ โดยเกณฑ์ปัจจุบันของการคัดเลือกหุ้นเข้าดัชนี SET50-SET 100 ใช้ Market Cap. (เฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ใน 200 อันดับแรก) และ Free Float (ไม่น้อยกว่า 20%)

(3)การคำนวณ Free Float Adjusted Market Cap. จะใช้วิธีการคูณด้วย Free Float ตรงๆ แบบที่เราคำนวณหรือไม่ หรือมีตัวแปรหรือมี Factor อื่น เข้ามาร่วมคำนวณด้วย

www.mitihoon.com