ล้มประมูลรถไฟฟ้า “สายสีส้ม”.. รฟม.สั่งใช้เกณฑ์เจ้าปัญหาตีกันถูกฟ้อง

536

ตามคาด หลังหาวเรอรอศาลเก้อ สุดท้าย รฟม.- คณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 สั่งล้มประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม 1.4 แสนล้าน พร้อมงัดเอาเกณฑ์เจ้าปัญหา 70:30 มาใช้ทั้งดุ้น ไม่สนจะถูกฟ้องอีกหรือไม่

โครงการประกวดราคาจัดหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า สายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กม.วงเงิน 1.4 แสนล้าน ต้องกลับไปนับ 1 ใหม่อีกหน หลังฝ่ายบริหาร รฟม.ตัดสินใจยกเลิกการประมูลในครั้งก้อนแล้ว โดยนายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ว่า ที่ประชุมมีมติยกเลิกการประกวดราคา (ประมูล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เนื่องจากมองว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้ทุกคนอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน ที่สำคัญจะทำให้โครงการเดินต่อไปไม่สะดุด และเกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ อย่างไรก็ตามในส่วนของรายละเอียดต่างๆ รฟม. จะเป็นผู้กำหนดอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนี้ รฟม. จะเร่งออกประกาศยกเลิกทันที เพื่อเริ่มกระบวนการประมูลใหม่ทั้งหมด โดยการประมูลใหม่จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอเอกชนจากคะแนนเทคนิค 30 คะแนน และราคา 70 คะแนน อย่างไรก็ตามการล้มประมูลถือว่าสามารถทำได้ เพราะ รฟม. ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูลไว้ในเอกสารหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ไว้อยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า การพิจารณายกเลิกประมูลโครงการฯ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดี จะทำให้ รฟม. ไม่ต้องลุ้นผลการพิจารณาคดีของศาลปกครอง รวมถึงไม่ต้องรอลุ้นว่าเมื่อศาลฯ ตัดสินแล้วจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร และจะติดปัญหาอะไรอีกหรือไม่ ส่วนข้อเสีย จะทำให้การเดินหน้าโครงการฯ ช้ากว่าแผนเดิมอย่างน้อย 6-9 เดือน

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า ทราบข่าวดังกล่าวแล้ว และหลังจากนี้คาดว่า รฟม. จะมีการแจ้งเหตุผลของการยกเลิกการประมูลอีกครั้ง โดยขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไร ขณะที่ในหนังสือที่ รฟม. ได้แจ้งสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกการประมูล ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วเพราะว่าจะมีการใส่ไว้ทุกโครงการ

ส่วนก่อนหน้านี้ที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบีทีเอส โดยให้ รฟม. กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิม คือ เปิดซองคุณสมบัติ ซองเทคนิค ซองข้อเสนอการเงินและซองข้อเสนออื่นๆ เพิ่มเติม แต่ รฟม. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองกลาง กรณีมีคำสั่งทุเลาการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินโครงการดังกล่าว นายสุรพงษ์ระบุว่า ขณะนี้ได้ไต่สวนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงรอศาลนัดฟังคำวินิจฉัย

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า การพิจารณายกเลิกประมูลโครงการฯ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดี จะทำให้ รฟม. ไม่ต้องลุ้นผลการพิจารณาคดีของศาลปกครอง รวมถึงไม่ต้องรอลุ้นว่าเมื่อศาลฯ ตัดสินแล้วจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร และจะติดปัญหาอะไรอีกหรือไม่ ส่วนข้อเสีย จะทำให้การเดินหน้าโครงการฯ ช้ากว่าแผนเดิมอย่างน้อย 6-9 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า การประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้าทั้งหมด และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 22.5 กม. จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กม. จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)

ทั้งนี้ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอร่วมลงทุนฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 พ.ย.63 โดยในครั้งนั้นมีบริษัทยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ 2 กลุ่ม (4 ราย) จากเอกชนที่ซื้อเอกสารข้อเสนอทั้งหมด 10 ราย โดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มายื่นข้อเสนอเป็นรายแรก ตามด้วยกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) ประกอบด้วย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน – ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STECON ทั้งนี้ถือว่าเป็นไปตามความคาดหมายที่คาดการณ์กันว่า โครงการนี้จะเป็นการประมูลที่แข่งขันกันระหว่าง 2 ขั้วคือ BEM และ BTS

โดยเนตรทิพย์กระพริบข่าวร้อน

http://www.natethip.com/news.php?id=3609

www.mitihoon.com