TK ไตรมาส 2 ปี 2564 รายได้รวม 499.5 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 142.6% 118.4 ล้านบาท

84

มิติหุ้น –  บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK ผู้ให้บริการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย รายงานผลประกอบการไตรมาส ปี 2564 กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 142.6% จาก 48.8 ล้านบาท เป็น 118.4 ล้านบาท รายได้รวม 499.5 ล้านบาท ลดลง 19.7จาก 622.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ที่ผ่านมา ภาพรวมครึ่งปีแรกกำไรสุทธิ 215.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.1จาก 142.8 ล้านบาท รายได้รวม 1,038.3 ล้านบาท ลดลง 23.8จาก 1,363.2 ล้านบาท เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกในปี 2563 เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้างทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย หนี้ครัวเรือนในประเทศปรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 90.5% ของ GDP ณ สิ้นไตรมาส ปีนี้ คาดมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีก มองสถานการณ์มหาวิกฤติยังไม่สามารถประเมินผลกระทบทั้งหมด TK เดินหน้ากลยุทธ์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ และมีสภาพคล่องสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยมีเงินสดและเงินฝากธนาคารรวม 2,335 ล้านบาท เพื่อพร้อมลุยการซื้อกิจการ MFIL ในเมียนมาเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย และเพื่อกลับมาเร่งขยายตัวทันทีที่สถานการณ์ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น

นางสาวปฐมา พรประภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติงบการเงินสำหรับรอบบัญชีสิ้นสุด 30 มิถุนายน 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,038.3 ล้านบาท ลดลง 23.8% จาก 1,363.2 ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิ 215.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 51.1% จาก 142.8 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนช่วงเวลาเดียวกัน โดยในไตรมาส 2/2564 มีกำไรสุทธิ 118.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 142.6% จาก 48.8 ล้านบาท รายได้รวม 499.5 ล้านบาท ลดลง 19.7% จาก 622.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยมีลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เงินให้กู้ยืมสุทธิรวม 3,947.6 ล้านบาท ลดลง 14.0% จาก 4,591.3 ล้านบาท  เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563

“ผลประกอบการภาพรวมยังคงมีกำไร ซึ่งเกิดจากบริหารจัดการทั้งการหารายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้อื่น ๆ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายโดยรวมภายในองค์กร รวมทั้งการบริหารต้นทุนทางการเงิน ในภาวะวิกฤติที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งในประเทศของเรา การปล่อยสินเชื่อกับกลุ่มลูกค้าที่เปราะบางจากสถานการณ์ของโรคระบาดในเวฟ 3 จึงจำเป็นต้องเข้มงวด มากกว่าการพยายามแย่งชิงลูกค้าโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายค่างวดทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ TK ยังคงใช้กลยุทธ์ระมัดระวังกับการปล่อยสินเชื่อ และมีสภาพคล่องสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยมีเงินสดและเงินฝากธนาคารรวม 2,335 ล้านบาท  ซึ่งจะทำให้ TK มีความพร้อมเสมอที่จะเร่งขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและที่ต่างประเทศ ทันทีที่สถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลาย” นางสาวปฐมา กล่าว

ทั้งนี้ ถึงรายได้รวมลดลง แต่รายได้อื่น ๆ ของ TK ในไตรมาส 2 ปี 2564 จำนวน 134.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29.5% จาก 104.1 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกมีรายได้อื่น ๆ รวม 286.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.5% จาก 239.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารจัดการด้านการติดตามหนี้ ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อติดตามหนี้ค้างชำระโดยเฉพาะ เพื่อติดตามลูกหนี้ให้ชำระค่างวดอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 2 ปี 2564 ได้ลดลง 38.1% เหลือ 336.7 ล้านบาท จาก 544.1 ล้านบาท โดยรวมตลอดครึ่งปีแรก สามารถบริหารค่าใช้จ่ายรวมลดลง 35.9% เป็น 730.5 ล้านบาท จาก 1,139.7 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน โดยมีการลดต้นทุนนำดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทุกหน่วยงาน เพื่อลดเอกสารและลดการทำงานซ้ำซ้อน ด้านต้นทุนทางการเงิน TK บริหารจัดการแหล่งต้นทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ไตรมาส 2 ปี 2564 มีจำนวน 7.6 ล้านบาท ลดลง 64.3% จาก 21.3 ล้านบาท รวมตลอดครึ่งปีแรกต้นทุนทางการเงินมีจำนวน 17.9 ล้านบาท ลดลง 60.8% จาก 45.7 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา

ทางด้านนายประพล พรประภา กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) หรือ TK กล่าวเพิ่มเติมว่า ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 TK มีลูกหนี้เช่าซื้อและลูกหนี้เงินให้กู้ยืมสุทธิรวม 3,947.6 ล้านบาท ลดลง 14.0% จาก 4,591.3 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 จากนโยบายเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อต่อเนื่องมากว่า 2 ปี แต่เนื่องจากไม่ได้ใช้สิทธิ์ผ่อนปรนการจัดชั้นลูกหนี้ตามมาตรการผ่อนปรนชั่วคราวของสภาวิชาชีพบัญชีของประเทศไทย ทำให้สำรองลูกหนี้สูงกว่าผู้ประกอบการประเภทเดียวกันที่ใช้มาตรการผ่อนปรนชั่วคราวตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2563 ณ ไตรมาส 2 ปี 2564  มีจำนวน 490.7 ล้านบาท ลูกหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน 9.1% Coverage Ratio เท่ากับ 120.9% ซึ่งเปรียบเทียบกับ ณ สิ้นปี 2563 ที่มีสำรองลูกหนี้ จำนวน 561.7 ล้านบาท ลูกหนี้ค้างชำระเกิน 3 เดือน 9.2% Coverage Ratio เท่ากับ 118.3% ณ ไตรมาส 2 ปี 2564 บริษัทมีสินทรัพย์รวม 6,780.3 ล้านบาท ลดลง 7.8 % จาก 7,356.8 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 และมีหนี้สินรวม 1,392.0 ล้านบาท ลดลง 30.4% จาก 2,000.5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563

“จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลก ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ทำให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลกระทบโดยตรงกับการบริโภคในประเทศ อีกทั้งหนี้ครัวเรือนปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ถึง 90.5% ของ GDP ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2564  และยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีก ทั้งนี้ จากสถานการณ์ปัจจุบันยังไม่สามารถประเมินผลกระทบทั้งหมดที่จะเกิดจากสถานการณ์ดังกล่าว ได้อย่างชัดเจน และคาดว่าจะยังคงเผชิญอีกหลายปัจจัยเสี่ยง  จึงส่งผลให้ TK คงนโยบายระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อและการควบคุมคุณภาพลูกหนี้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในระยะกลาง และระยะยาวต่อไป ในขณะที่ยังมีเงินสดพร้อมที่จะสามารถนำไปใช้ในการซื้อกิจการ MFIL ในเมียนมา ตามที่ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 ทันทีที่สามารถเข้าไปดำเนินกิจการได้ รวมถึงนำไปใช้ในการเร่งขยายพอร์ตลูกค้าในประเทศเมื่อสถานการณ์ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นทันที”  นายประพล กล่าวทิ้งท้าย

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp