วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน

86

เวสต์เท็กซัสและเบรนท์ถูกกดดัน จากความกังวลอัตราการเติบโตเศรษฐกิจจะชะลอตัว

– ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลด จากความกังวลเศรษฐกิจชะลอตัว หลังธนาคารกลางทั่วโลกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดความร้อนแรงของอัตราเงินเฟ้อ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 3.4% ในช่วงปลายปี 65 จากปัจจุบันที่ 1.50-1.75%

+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล ณ สัปดาห์สิ้นสุด 24 มิ.ย. สอดคล้องกับกำลังผลิตของโรงกลั่นสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น 1% หรือราว 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับ 95% นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ปี 62

+ ตลาดคาดว่ากลุ่มโอเปกพลัส ซึ่งมีการประชุมในวันที่ 29-30 มิ.ย. 65 จะคงนโยบายการเพิ่มกำลังผลิตตามมติเดิมที่ 648,000 ล้านบาร์เรล ในเดือน ก.ค. 65 ท่ามกลางความกังวลซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐฯอาหรับเอมิเรตส์ จะไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามเป้า เนื่องจากกำลังการผลิตของทั้งสองประเทศใกล้เต็มศักยภาพแล้ว

+ JPMorgan คาดว่าอุปทานน้ำมันดิบจะตึงตัวต่อเนื่อง หลังอุปทานน้ำมันดิบโลกกว่า 1 ใน 5 อยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตร อันได้แก่ อิหร่าน เวเนซุเอลา และรัสเซีย และเป็นไปได้ยากที่ทั้งสามประเทศจะกลับมาส่งออกในปริมาณเท่าเดิมได้

ราคาน้ำมันเบนซิน – ปรับตัวลดลงสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ณ สัปดาห์สิ้นสุด 24 มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล ท่ามกลางปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินของอินโดนีเซียที่ปรับสูงขึ้น

ราคาน้ำมันดีเซล – ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ณ สัปดาห์สิ้นสุด 24 มิ.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรล ประกอบกับหลายโรงกลั่นเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดีเซล หลังความต้องการใช้ปรับสูงขึ้น

หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ. ไทยออยล์

 

@mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp