เงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ เดือน มิ.ย. เร่งตัวขึ้นเป็น 9.1% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด

140

Summary 

  • ครม. อนุมัติให้มีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่อไปอีก 2 เดือน

  • สหรัฐฯ: เงินเฟ้อ CPI เดือน มิ.ย. เร่งตัวขึ้นเป็น 9.1% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด กดดัน Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยตลาดมอง Fed อาจต้องปรับขึ้นในอัตรามากถึง 100bps ในการประชุมปลายเดือนนี้

  • จีน: ยอดส่งออกเดือน มิ.ย. เร่งตัวขึ้นสวนทางกับที่ตลาดคาด ด้วยแรงหนุนของการส่งออกคอมพิวเตอร์

  • น้ำมัน: EIA คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกจะต่ำกว่าฝั่งอุปทานในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ก่อนจะสมดุลขึ้นในปี 2023

Chart of the Day 

  • Yield spread ระหว่างพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปีและ 2 ปี ติดลบมากสุดตั้งแต่ปี 2000 หลังเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาด

Highlight

  • US Headline CPI  (Jun): 1.3% MoM ( vs. 1.0% prev and 1.1% cons)

  • US Core CPI (Jun): 0.7% MoM ( vs. 0.6% prev and 0.5% cons)

  • US Headline CPI (Jun): 9.1% YoY ( vs. 8.6% prev and 8.8% cons)

  • US Core CPI (Jun): 5.9% YoY ( vs. 6.0% prev and 5.7% cons)

  • Germany ZEW Survey Expectations (Jul): -53.8 pts ( vs. -28 prev and -40.5 cons)

  • Eurozone ZEW Survey Expectations (Jul): -51.1 pts ( vs. -28 prev)

  • Eurozone Industrial Production (May): 0.8% MoM ( vs. 0.4% prev and 0.3% cons)

  • China Exports (Jun): 17.9% YoY ( vs. 16.9% prev and 12.5% cons)

  • China Imports (Jun): 1.0% YoY ( vs. 4.1% prev and 4.0% cons)

  • China Trade Balance (Jun): $97.94bn ( vs. $78.76bn prev and $76.80bn cons)

Today’s Data Releases

  • สหรัฐฯ: ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน มิ.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สิ้นสุดสัปดาห์ที่ 9 ก.ค.

Upcoming Events

  • (19-23 ก.ค.) ครม. มีมติให้มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงวันที่ 19 – 23 ก.ค. โดยจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวอาจจะทำให้ความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มขึ้น
  • (20-21 ก.ค.) การประชุม BoJ คาด BoJ จะยังคงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม ทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control โดยเราคาด BoJ จะยังคงจุดยืนทางนโยบายที่ผ่อนคลายไปตลอดจนสิ้นสุดวาระของนาย Haruhiko Kuroda ผู้ว่าฯ BoJ ในเดือน เม.ย. 2023 เป็นอย่างน้อย ตามคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะยังคงห่างไกลเป้าหมายที่ 2% ในระยะปานกลาง (แม้ในระยะสั้นจะเร่งตัวขึ้นมากจากผลของราคาพลังงานที่ปรับขึ้นมามาก และผลของฐานต่ำจากมาตรการลดค่าบริการโทรศัพท์ในปีก่อน)
  • (21 ก.ค.) การประชุม ECB คาด ECB ปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่สูงกว่าเป้าหมายอย่างมาก โดยคาด ECB จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างน้อย 75-100bps ในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย. อาจมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยมากถึง 50bps ขึ้นอยู่กับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะกลาง (ปี 2024F) ตามที่ ECB ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้านี้
  • (26-27 ก.ค.) การประชุม Fed คาด Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ย 75bps สู่ระดับ 2.25-2.50% เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่ยังขยายตัวในระดับสูงและยังไม่ชะลอตัว ติดตามการส่งสัญญาณของนาย Powell เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขึ้นดอกเบี้ยครั้งละ 50-75bps ในการประชุม 2 ครั้งหน้า (เดือน ก.ย. และ พ.ย.) เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวในระดับสูงยาวนาน


Key economic events and data releases

กำลังแทรกรูป...

Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Thai Economic Pulse

  • ครม. อนุมัติให้มีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลต่อไปอีก 2 เดือน
    • การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติที่สำคัญ ดังนี้ 
    • 1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่นๆ ที่คล้ายกัน รายการน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถันและรายการน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ ประมาณลิตรละ 5 บาท ต่อไปอีก 2 เดือน (มาตรการเดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 20 ก.ค. 2022) โดยมาตรการดังกล่าวจะทำให้กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันลดลงประมาณ 10,000 ล้านบาท/เดือน คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท (Source: Thaipublica)
    • 2. เห็นชอบร่าง พ.ร.ฎ 2 ฉบับ ที่เป็นมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ จัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้าภายในประเทศ โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2022 แบ่งออกเป็น 
      • การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นจำนวน 2 เท่าของที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรอง หรือพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 
      • การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 1.5 เท่า สำหรับการอบรมสัมมนาในพื้นที่อื่นๆ 
      • การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นจำนวน 2 เท่าของที่จ่ายจริง ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับที่ใช้จ่ายเป็นค่าเช่าพื้นที่หรือค่าบริการในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรือ การแสดงสินค้าภายในประเทศ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้จัดว่าได้เข้าร่วมงานจริง
      • โดยคาดว่าจะมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี จาก 2 ร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว รวมแล้วประมาณ 7,750 ราย โดยรัฐจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เพียง 455 ล้านบาท แต่สามารถช่วยเอกชนลดค่าใช้จ่ายทางภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้ถึง 2,275 ล้านบาท
    • 3. อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2022 ครั้งที่ 3 รวม 29 จังหวัด จำนวน 1,138 โครงการ กรอบวงเงินรวม 1,973 ล้านบาท มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มอาชีพ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ว่างงาน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19
    • Our takeอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มเร่งตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาส 3 ทั้งจากการปล่อยลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลเกินกว่า 30 บาทต่อลิตรตั้งแต่เดือน พ.ค., การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของ กกพ. และราคาอาหารสดที่จะยังได้รับผลกระทบจากตามการเร่งตัวของราคาอาหารโลก (หลังหลายประเทศมีการจำกัดการส่งออกสินค้ากลุ่มอาหาร รวมทั้งผลกระทบจากปัจจัยฤดูกาลในช่วงหน้าฝนที่สินค้าเกษตรอาจได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม)
    • โดยเราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ระดับเฉลี่ยราว 8% YoY ในไตรมาส 3 (vs. 6.5% ในไตรมาส 2) และคาดว่าทั้งปีจะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 6.6% ในปีนี้ และ 2.7% ในปีหน้า นอกจากนี้ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัย ทำให้คาดว่า ธปท. จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมวันที่ 10 ส.ค. นี้

 

Global Economic Pulse

  • สหรัฐฯ: เงินเฟ้อ CPI เดือน มิ.ย. เร่งตัวขึ้นเป็น 9.1% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด กดดัน Fed เร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยตลาดมอง Fed อาจต้องปรับขึ้นในอัตรามากถึง 100bps ในการประชุมปลายเดือนนี้ 
    • อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เพิ่มขึ้น 0.7% MoM (vs. 0.6% เดือนก่อน) สูงสุดนับตั้งแต่กลางปี 2021 และสูงกว่าตลาดคาดที่ 0.5% โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัวลงเป็น 5.9% YoY จาก 6.0% เดือนก่อน ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่สูงกว่าตลาดคาดที่ 5.7%

    • โดยหมวดราคาที่พักอาศัย (Shelter) ซึ่งคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของน้ำหนักในตระกร้าเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.6% MoM ต่อเนื่องเท่ากับเดือนก่อน ซึ่งสูงสุดตั้งแต่ปี 1990 โดยค่าเช่า Rent of primary residence เพิ่มขึ้น 0.8% สูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 และ Owners’ equivalent rent เพิ่มขึ้น 0.7% สูงสุดในรอบเกือบ 32 ปี 

    • ส่วนราคาในหมวดร้านอาหาร (Food away from home) ซึ่งเป็นหมวดที่ใช้แรงงานเป็นจำนวนมากยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 0.9% MoM (vs. 0.7% เดือนก่อน) สูงสุดในรอบ 41 ปี

    • ด้านราคาในหมวดสินค้าหลัก (Core Goods) ยังปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถยนต์ใหม่ (0.7MoM vs. 1.0% เดือนก่อน), รถยนต์มือสอง (+1.6% vs. 1.8% เดือนก่อนและเสื้อผ้า (0.8% vs. 0.7% เดือนก่อน)

    • ขณะที่ราคาในหมวดที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวอาทิ ตั๋วเครื่องบิน (-1.8%MoM) และโรงแรม (-2.8%) ปรับลดลงในเดือนนี้

    • ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) เพิ่มขึ้น 1.3% MoM (vs. 1.0% เดือนก่อน) สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2005 และสูงกว่าตลาดคาดที่ 1.1% โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นเป็น 9.1% YoY สูงสุดในรอบกว่า 40 ปี และสูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 8.8%
    • โดยปัจจัยหนุนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน (7.5% MoM) ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นเป็น 41.6% YoY สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 1980 และราคาอาหาร (1.0%) ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นเป็น 10.4% YoY สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 1981 
    • Our take: เงินเฟ้อ CPI ออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แม้ฐานในช่วงเดียวกันปีก่อนได้เริ่มปรับสูงขึ้นก็ตาม อีกทั้งการเพิ่มขึ้นยังกระจายไปในหลายกลุ่มสินค้า (Broad-base) สะท้อนแนวโน้มของเงินเฟ้อที่ยังมีความไม่แน่นอนอย่างมาก จากทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กระทบราคาพลังงานและอาหาร รวมถึงปัญหา Supply-side constraints ที่ยังไม่คลี่คลายชัดเจน 
    • นอกจากนี้ โมเมนตัมเงินเฟ้อ MoM ยังคงสูงมาก โดยเฉพาะภาคบริการอย่างหมวดที่พักอาศัย (ซึ่งรวมถึงค่าเช่า) ที่จะยังได้แรงหนุนจากตลาดแรงงานแข็งแกร่งและค่าจ้างที่ขยายตัวสูง ซึ่งนับเป็นหมวดสำคัญที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเนื่องจากคิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเงินเฟ้อ อีกทั้ง เมื่อเพิ่มขึ้นแล้วค่อนข้างลงยาก (Sticky) จากวิธีการคำนวณ

    • จากปัจจัยข้างต้น ทำให้เงินเฟ้อยังมีแนวโน้มไม่ชะลอลงกลับสู่เป้า 2% ได้เร็ว และทำให้ Fed จะยังคงถูกกดดันให้เร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง โดยเราคาด Fed จะปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในอัตรา 75bps (จากระดับปัจจุบันที่ 1.50-1.75%) สำหรับการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ และหลังการประชุมครั้งดังกล่าว เราคาด Fed จะปรับดอกเบี้ยขึ้นในอัตรา 50bps ในการประชุมเดือน ก.ย. ก่อนที่จะปรับขึ้นในอัตราปกติที่ 25bps ในการประชุมเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยแตะระดับ 3.25-3.50% ณ สิ้นปีนี้ ตามที่ระบุใน Dot plot ครั้งล่าสุด

    • อย่างไรก็ดี รายงานเงินเฟ้อที่ออกมาสูงกว่าคาดในเดือนนี้ (ขณะเดียวกันตัวเลขการจ้างงานก็ออกมาแข็งแกร่งกว่าคาดเช่นกัน) ก็นับเป็นความเสี่ยงให้ Fed อาจตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยในอัตรามากถึง 100bps ในการประชุมเดือน ก.ค. โดยตลาด (สะท้อนผ่าน Fed funds futures) ให้น้ำหนักสูงถึงราว 80% เพิ่มขึ้นอย่างมากจากก่อนหน้ารายงานเงินเฟ้อที่ให้น้ำหนัก 7.6%

    • นอกจากนี้ ตลาดได้ให้น้ำหนัก Fed ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในอัตรา 75bps ในการประชุมเดือน ก.ย. ที่ราว 70% (vs. ก่อนรายงานเงินเฟ้อที่ 2.4%)
    • ด้าน Bond yield สหรัฐฯ อายุ 2 ปี เพิ่มขึ้น +10bps อยู่ที่ 3.15% สอดรับกับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่มีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ Bond yield อายุ 10 ปี ลดลง 4bps อยู่ที่ 2.93% ทำให้ Yield spread ระหว่าง Bond อายุ 10 ปี กับ 2 ปี ติดลบ (Invert) มากสุดนับตั้งแต่ปี 2000 สะท้อนความเสี่ยง Recession ที่เพิ่มขึ้น

 

Figure 1:: เงินเฟ้อ CPI เร่งตัวขึ้นต่อในเดือน มิ.ย. ขณะที่ Core CPI ชะลอตัวลง ด้านโมเมนตัม MoM สูงอย่างมาก   

Note: Bloomberg consensus as of 13 Jul. 

SourceBloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Figure 2: ราคาพลังงาน, อาหาร และหมวดบริการ (ไม่นับรวมอาหารและบริการ) ปรับตัวเพิ่มขึ้น  

Source: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Figure 3: ตลาด (สะท้อนผ่าน Fed funds futures) มอง Fed จะต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะใกล้ โดยมองดอกเบี้ยจะทำจุดสูงสุดหรือ Terminal rate ที่ 3.6% ในช่วงต้น 1Q23 ขณะที่มอง Fed จะต้องเริ่มปรับลดดอกเบี้ยหลังจากนั้นไม่นาน

Souce: Bloomberg, TISCO Economic Strategy Unit (ESU)

Figure 4: ตลาดให้น้ำหนัก Fed ขึ้นดอกเบี้ย 100bps ในการประชุมวันที่ 26-27 ก.ค.นี้ที่ 78% จากก่อนหน้ารายงานเงินเฟ้อออกที่ให้น้ำหนักเพียง 7.6% เท่านั้น 

Source: CME Group

 

  • จีน: ยอดส่งออกเดือน มิ.ย. เร่งตัวขึ้นสวนทางกับที่ตลาดคาด ด้วยแรงหนุนของการส่งออกคอมพิวเตอร์

     

    @mitihoonwealth

    https://lin.ee/cXAf0Dp