ล้วงลึกอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม กับปัจจัยที่ไม่ควรละสายตา

532
3d rendering roll of steel sheet in factory

Highlight

  • ความต้องการใช้อะลูมิเนียมทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโต 4%CAGR ในช่วงปี 2018-2020 โดยมีการเติบโตของภาคก่อสร้างและการผลิตรถยนต์ในจีนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก สวนทางกับกำลังการผลิตที่คาดว่าจะหดตัวลงถึง 4 ล้านตัน หรือเทียบเท่า 7% ของกำลังการผลิตโลก จากสถานการณ์ดังกล่าวประเมินว่าราคาอะลูมิเนียมจะปรับตัวขึ้นราว 3%CAGR ในช่วงปี 2018-2020
  • สำหรับไทย อีไอซีประเมินว่าการเติบโตของการผลิตรถยนต์ การก่อสร้างภาคเอกชน โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงาน รวมถึงการขยายตัวของตลาดเบียร์ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง จะส่งผลให้ความต้องการใช้อะลูมิเนียมเติบโต 5%CAGR ในช่วงปี 2018-2020
  • ความผันผวนของราคาอะลูมิเนียม การขยายตัวของปริมาณการนำเข้าอะลูมิเนียมสำเร็จรูป และมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าอะลูมิเนียมของสหรัฐฯ เป็น 3 ปัจจัยที่ผู้ผลิตและผู้ใช้อะลูมิเนียม ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยตรง

Implication

  • ผู้ประกอบการควรวางแผนการใช้กำลังการผลิตเพื่อรองรับการเติบโตของ อุปสงค์อะลูมิเนียมในอนาคต โดยเฉพาะกรอบอะลูมิเนียมสำหรับงานก่อสร้าง และแผ่นอะลูมิเนียมซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตกระป๋อง ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองคำสั่งซื้อที่คาดว่าจะขยายตัวขึ้น ผู้ประกอบการที่มีกำลังการผลิตไม่มากพอควรพิจารณาการลงทุนขยายกำลังการผลิต หรือพิจารณาการนำเข้าผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาจัดจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการที่ขยายตัวขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา แม้ทิศทางราคาอะลูมิเนียมจะอยู่ในขาขึ้น แต่แน่นอนว่าในระหว่างปีราคาอะลูมิเนียมจะผันผวนตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงแรงเก็งกำไร ณ เวลานั้นๆ การจับคู่คำสั่งซื้อ และการบริหารสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาอะลูมิเนียมได้ (stock loss)

โดย: Economic Intelligence Center (EIC) ธ.ไทยพาณิชย์