ประมูลแหล่งปิโตรเลียม จับตา PTTEP เข้าวิน

423

กระทรวงพลังงานหลังจากเปลี่ยนรัฐมนตรีเป็น “ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์” นโยบายด้านพลังงานที่มีความคลุมเครือหลายอย่าง เริ่มมีความชัดเจนขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชะลอลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ และโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา ชะลอการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในส่วนของโครงการใหม่ที่ยังไม่ได้เปิดประมูล

ล่าสุด อนุมัติเปิดประมูลขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 และ G2/61 หรือ แหล่งเอราวัณ-บงกช ที่จะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2565-2566 ตามลำดับ
โดยการประมูลตามระเบียบ TOR ประมูลภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC)

สำหรับขั้นตอนและกรอบระยะเวลาในการประมูลได้เปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องการประมูลได้ที่เว็บไซต์ของกรมเชื้อเพลิง ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2561 เป็นต้นไป และกำหนดยื่นแบบฟอร์มเพื่อแสดงความจำนงในการเข้าร่วมพิจารณาคุณสมบัติในวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 และยื่นหลักฐานแสดงคุณสมบัติเบื้องต้น ในวันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2561 และกำหนดแจ้งผลการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2561

หลังจากนั้นผู้ที่ผ่านคุณสมบัติสามารถยื่นเอกสารแสดงเจตจำนงในการเข้าถึงข้อมูล ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน 2561 และสามารถเข้าศึกษาข้อมูลในพื้นที่แปลงสำรวจได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน – 21 กันยายน 2561
พร้อมกำหนดยื่นข้อเสนอด้านเทคนิคและผลประโยชน์ตอบแทนรัฐในวันที่ 25 กันยายน 2561

จากนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะนำเสนอเอกสารการยื่นประมูลเสนอต่อคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.พิจารณาอนุมัติ เมื่อ ครม.อนุมัติแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะดำเนินการประกาศผลผู้ที่ชนะการประมูล และได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต่อไปเ

เป็นอันสิ้นสุดแผนประมูลสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมทั้ง2แห่งที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558

อย่างไรก็ตาม การประมูลในครั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ยื่นประมูล 3 ราย ได้แก่กลุ่มเชฟรอน ,บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP และ บริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม

แน่นอนว่า รายที่มีภาษีดีที่สุดย่อมเป็น PTTEP ซึ่งเป็นผู้สำรวจรายเดิมในแหล่งบงกชมากว่า 20 ปี ส่วนแหล่งเอราวัณ PTTEP ถือหุ้นอยู่ 5% ก็อยู่ระหว่างเจรจาเข้าซื้อหุ้นเพิ่มจากกลุ่มเชฟรอน ขณะที่รัฐบาลให้ PTTEP เป็นตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 แหล่ง จากปัจจัยที่เป็นผู้ผลิตรายเดิมที่เชี่ยวชาญพื้นที่ ทำให้ PTTEP มีความเข้าใจลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งเป็นอย่างดี
รวมถึงมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและลดต้นทุนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีต้นทุนที่แข่งขันได้ดีกว่าคู่แ

แต่ที่สำคัญคือ รัฐยกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย จึงเป็นเป็นโอกาสที่ดีของ PTTEP ที่จะเข้าวิน

“บิ๊กเซ็ต”