“ชิ้นส่วนยานยนต์” อาการหนัก ถ้าโควิดยืดเยื้อ

447

มิติหุ้น-จากกรณีผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19จนส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องหยุดผลิตซึ่งในตลาดหุ้นยังมีอีกกลุ่มที่อยากจะหยิบยกขึ้นมานั่นก็คือกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ จนมีหลายฝ่ายออกมาคาดการณ์ว่า ถ้าโควิด-19 จบในเดือนมิ.ย.63 การผลิตรถยนต์ปีนี้จดปรับลดลง 30%  ขณะที่ส.อ.ท.ระบุว่าขณะนี้ค่ายรถยนต์ต้องปิดสายการผลิต ในประเทศชั่วคราวถึง 30 เม.ย.นี้และกระทบต่อการผลิต แต่ถ้ายังต้องปิดการผลิตต่อถึงมิ.ย.63 จะทำให้การผลิตรถยนต์ของไทยลดลงราว -30% เหลือ 1.4 ล้านคัน โดยเป็นการขายในประเทศ 50% หรือ 7 แสนคัน และอีกครึ่งหนึ่ง ส่งออก

โควิดยืดเยื้อถึง ก.ย.63

แต่ถ้าโควิดยังยืดเยื้อไปถึง ก.ย.63 การผลิตจะร่วงลง -50% เหลือ 1 ล้านคัน แบ่งป็นการผลิตเพื่อขายใน ประเทศ 5 แสนคัน และส่งออก 5 แสนคัน ทั้งนี้เดิมมีเป้าหมายการผลิตในปี 63F ไว้ที่ 2 ล้านคัน เพื่อขายในประเทศ 50% และส่งออก 50%

ด้านฝ่ายวิเคราะห์บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประเมิน ว่า คาดอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนปี 63 อยู่ในความท้าทายอย่างมาก และกระทบต่อการจ้างงานจำนวนมาก เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่การผลิตยาว จากรถยนต์ 1 คันใช้ชิ้นส่วนกว่าพันชิ้น เราคาดว่าผลประกอบการของกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์จะหดตัวแรง โดยจะเห็นผลกระทบมากใน ไตรมาส2/63 ส่วนใน ไตรมาส1/63 ยังไม่กระทบมากเพราะในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ.63 ยังมีการผลิตและขายปกติ

เจอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

นอกจากนั้นอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครั้งใหญ่ ซึ่งกำลังเปลี่ยนจากรถยนต์ระบบน้ำมันไปสู่ระบบไฮบริดและไปสู่ระบบรถยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ และความเสี่ยงที่เข้ามาเพิ่มนอกเหนือจากโครงสร้างอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมากดังกล่าวแล้ว คือ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อรถยนต์ในประเทศและทั่วโลกหดตัวแรงและจะฟื้นตัวช้ากว่าสินค้าอุปโภคบริโภคและมีราคาต่อหน่วยสูง

STANLY เด่นสุดกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์

อย่างไรก็ดี ราคาหุ้นยานยนต์ลดลงมาต่อเนื่อง โดย SETAUTO ลดลง -23%YTD และร่วงลงมาแล้ว -48% นับตั้งแต่ต้นปี 61 (คือในรอบประมาณ 2 ปี 4 เดือน) หุ้นเด่นเป็น STANLY ซึ่งเป็นผู้ผลิตหลอดไฟและโคมไฟ ซึ่ง

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับยานยนต์ทั้งระบบน้ำมันและไฟฟ้า ณ ปัจจุบันราคาหุ้น 126 บาทมีP/BV ต่ำที่ 0.58 เท่า (มี BVS สิ้นธ.ค.62 เท่ากับ 217 บาท) ฐานะการเงินแข็งแกร่ง ณ สิ้นปี 62 มีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นสุทธิ 3,575 ล้านบาท (ไม่มีหนี้สินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย) คิดเป็น 4.7 บาท/หุ้น และมีกำไรสะสม 15,993 ล้านบาท ด้านปันผล คาด Dividend yield ปีนี้จะลดเป็น 2-3% แต่ในปี 64F มีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 4-5% ถ้าโควิด-19 จบในปีนี้ การอ่อนตัวของ ราคาหุ้นเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสม การวิเคราะห์ทางเทคนิค ระดับราคาในพื้นที่ 120-110 บาทมีรีบาวด์ โดยมีแนวต้านระยะสั้น 130 บาท

www.mitihoon.com