กลยุทธ์การลงทุน – ประเทศไทยกำลังอยู่บนเส้นทางของชัยชนะจาก COVID-19?

99

ผลจากแนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID19 รายใหม่ทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง หลายประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนของการผ่อนคลายมาตรการ lockdown เพื่อที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในกลุ่มประเทศที่คาดว่าจะอนุญาตให้ธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำเปิดดำเนินการได้ จากการที่เป็นกลุ่มที่เริ่มเปิดดำเนินการแรกๆ เราคาดเศรษฐกิจไทยจะถึงจุดต่ำสุดภายใน 2Q20 หรือต้น 3Q20 และฟื้นตัวหลังจากนั้น เราแนะนำให้นักลงทุนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอัตราการผลิตและอัตราการเข้าพักของโรงแรมเพื่อเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด

 

ถึงแม้ว่าหากไม่มีวัคซีน คงไม่มีสถานที่ที่ปลอดภัยจากการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ตามการควบคุมประชาชนได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันการระบาด จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้ใช้มาตรการเพื่อควบคุมการระบาดจำนวนมาก ซึ่งทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระดับความเข้มงวดที่สูงที่ระบุใน (อ้างอิงจาก stringency model พัฒนาโดย Oxford University) ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็เป็นที่พึงพอใจจากการที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในสมการเชิงอนุพันธ์ที่ 1 และ 2 (First and second order) เข้าใกล้ 0 และหมายถึงมาตรการนั้นกำลังประสบความสำเร็จ โดยข้อมูลนั้นสอดคล้องกับการประมาณการจากข้อมูลของ Singapore University of Technology and Design ที่ว่าประเทศไทยน่าจะรักษา 99% ของผู้ติดเชื้อได้ภายในต้นเดือนพฤษภาคม

 

เราได้ตระหนักดีว่าระยะเวลาของการ lockdown มีผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในรูปแบบ exponential  การเริ่มเปิดธุรกิจใหม่อีกครั้งหมายถึงการจำกัดความเสี่ยงสำหรับการเติบโต รวมถึงเร่งเวลาของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น แต่เรายังคงให้ตระหนักว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังไม่กลับสู่ระดับปกติจนกว่า supply-chain ทั่วโลกจะฟื้นตัว ซึ่งหมายถึงจำนวนผู้ติดเชื้อจำเป็นที่จะต้องลดลงอย่างมากจากระดับปัจจุบัน ถ้าหากเรามองว่าประเทศไทยอยู่กระบวนการ lockdown ที่ดี (ไม่มีการระบาดระลอกที่ 2) เราคาดว่าเศรษฐกิจน่าจะถึงจุดต่ำสุดในไตรมาสนี้ จากที่เราแนะนำไปก่อนหน้านี้ สองตัวชี้วัดที่จะบ่งชี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อัตราการผลิต (capacity utilization) ซึ่งสะท้อนกิจกรรมในฝั่งอุปทานและ อัตราการเข้าพักของโรงแรมที่ดัชนีสะท้อนภาคบริการ

 

ในขณะที่เรายังไม่มีมุมมองระยะสั้นเนื่องจากสถานการณ์ยังคงมีความผันผวน แต่ในมุมมอง 6-12 เดือนจะเป็นมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อการฟื้นตัวของธุรกิจและสินทรัพย์เสี่ยงในตลาดเกิดใหม่ เรายังคงแนะนำให้นักลงทุนมองการอ่อนค่าของ USD เป็นสัญญาณการยืนยันว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่กำลังจะเริ่มขึ้น เป็นผลกระทบจากการลดลงของความเสี่ยงทั่วโลกจะลดความต้องการของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย (สินทรัพย์ในสกุลเงิน US) ซึ่งหมายถึงความต้องการสินทรัพย์ที่อยู่นอกสกุลเงิน US เพิ่มขึ้น   ยังมีอีกประเด็นที่ควรศึกษาในอนาคตคือ การระบาดของ COVID-19 นั้นทำให้ศักยภาพในการเติบโตของประเทศไทย (รวมถึงเศรษฐกิจโลก) ลดลงและรัฐบาลในหลายๆ ประเทศมีศักยภาพในการจัดการปัญหาเหล่านี้น้อยลงหลังรัฐบาลใกล้ที่ถึงขีดจำกัดของนโยบาย ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อภาพระยะยาว โดยเราจะอภิปรายกันในรายงานต่อๆไป

Disclaimer:  เอกสาร/รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นบนพื้นฐานข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งพิจารณาแล้วว่ามีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม บมจ.หลักทรัพย์กรุงศรี มิอาจรับรองความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวได้ บทความดังกล่าวเป็นเพียงแนวคิดของผู้จัดทำเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุน บริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณการต่างๆที่ปรากฏในเอกสาร/รายงานฉบับนี้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าดังนั้นนักลงทุนโปรดใช้ดุลพินิจอย่างรอบคอบในการพิจารณาการลงทุน

www.mitihoon.com