งานวิจัยเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่าแบบยั่งยืน ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช”

470

มิติหุ้น – สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) จัดสัมมนางานวิจัย Sasin Research Seminar Series” เป็นประจำทุกๆ สองสัปดาห์  เมื่อเร็วๆนี้ ได้เชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุพิน ภัทรพงศ์สันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการตลาด และ ดร. ภัทรวรรณ ประสานพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปฏิบัติการและเทคโนโลยี ศศินทร์ มาร่วมพูดคุยถึง งานวิจัยเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่าแบบยั่งยืน ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช (The Case of Sustainable Healthcare: Value-based Healthcare at the Siriraj Integrated Center of Excellence) ซึ่งหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิจัยพฤติกรรมและสารสนเทศในสังคมศาสตร์ (RU-BRI) สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ ร่วมกับโรงพยาบาลศิริราช

การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ‘Value-based Healthcare’ เป็นรูปแบบการบริการทางการแพทย์ที่ผู้ให้บริการ ซึ่งรวมถึงแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาล มุ่งเน้นไปที่ การที่ผู้ป่วยในฐานะผู้รับบริการทางการแพทย์โดยได้รับบริการที่ดีและผลลัพธ์ด้านการรักษาและสุขภาพของผู้ป่วย โดยสร้างระบบบริการสุขภาพที่เอื้อให้เกิดคุณค่าสูงสุดในการรักษาพยาบาลต่อคนไข้ ความมุ่งหมายนี้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาโมเดล Sustainable Value-based Healthcare Delivery ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช  หรือ Siriraj Integrated Center of Excellence (SiCOE) ขึ้น

การดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ‘Value-based Healthcare’ นั้นไม่ใช่แนวคิดใหม่ โดยเริ่มต้นที่สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้ในระบบการบริการสุขภาพที่สิงคโปร์  ทั้งนี้นักวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมด้านการตลาดเชิงกลยุทธ์  ด้านการบริการสุขภาพ ได้แก่ ‘Value-Based Healthcare Agenda’ ซึ่งเขียนโดยศาสตราจารย์ Michael E. Porter จาก Harvard Business School ในปี 2013 การจะสร้างระบบการดูแลสุขภาพโดยเน้นคุณค่า ‘Value-based Healthcare’ ก่อนอื่นต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของการบริการทางด้านสุขภาพ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งเป็นที่มาของงานวิจัยเชิงปฏิบัติการของคณะวิจัยนี้ที่โรงพยาบาลศิริราช

นักวิจัยได้กล่าวถึงกลยุทธ์ 4 อย่าง อย่างแรกคือ การจัดระเบียบการดูแลเป็น Integrated Practice Units (IPUs) ซึ่งต้องเปลี่ยนจากการจัดตามความเฉพาะทางของโรคเป็นการจัดตามผลิตภัณฑ์ คือการบริการทางการแพทย์ อาทิ การเปลี่ยนข้อเข่า การรักษาโรคเส้นเลือดอุดตันในสมอง การเปลี่ยนอวัยวะเช่น ตับ ซึ่งจะนำไปสู่การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ ไม่ใช่จากหน่วยใดหน่วยหนึ่ง และเป็นการวาง Care Plan และ Service Flow ให้ความสำคัญต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริการทั้งหมด อย่างที่สอง การวัดคุณภาพการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม outcome และ cost เพื่อให้ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลนั้นไม่สูงเกินไป จำเป็นต้องวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วย ค่าบริการ ค่าอุปกรณ์ ค่าจ้างบุคลากร เวลา อย่างที่สามคือ การสร้าง Integrate Care Delivery ในระบบบริการสุขภาพ และอย่างสุดท้ายคือการสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้รองรับการให้บริการ ที่ต้องมีการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบ ดึงข้อมูลมาใช้ในการให้บริการและการวิเคราะห์ได้ง่าย

ผศ.ดร.ยุพิน และ ดร. ภัทรวรรณ ร่วมกับทีมผู้บริหารโรงพยาบาลศิริราช ได้มีการพัฒนาโมเดล Sustainable Value-based Healthcare Delivery ณ ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศโรงพยาบาลศิริราช (SiCOE) โดยมุ่งเน้นที่ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการโดยมีการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย สร้างความคุ้มค่าในระบบสุขภาพ และ เชื่อมโยงกับความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ สร้างการวิจัย การศึกษา และการขยายตลาดการบริการทางการแพทย์ต่อไป สร้าง Patient Journeyที่สมบูรณ์ขึ้น

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp