ส่งออกเติบโตดีในเดือน ก.ย. ด้านการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการส่งออกในระยะถัดไป 

34

มิติหุ้น-บล.ทิสโก้ระบุว่า ในเดือน ก.ย. การส่งออกเติบโต 17.1% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาด (+11.8%) และเดือนก่อนหน้า (+8.9%) ด้านส่งออกไม่รวมทองคำขยายตัว 18.9%

การนำเข้าขยายตัว 30.3% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 โดยสินค้านำเข้าที่สำคัญขยายตัวสูงในหลายกลุ่ม (เช่น เชื้อเพลิง +43.9% สินค้าอุปโภคบริโภค +22.2% และวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลาง +44.6%)

ดุลการค้าเกินดุล USD609mn (เทียบกับ USD-1.2bn เดือนก่อน)

สำหรับ 9M21 การส่งออกและนำเข้าเติบโต 15.5% และ 30.9% YoY ตามลำดับ

ด้านส่งออกรายสินค้า ผลิตภัณฑ์เกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตร ยังคงเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ที่ +12.1% YoY นำโดยการส่งออกขยายตัวดีในยางพารา (+83.6%), ข้าว (+33.8%), อาหารสัตว์เลี้ยง (+23.6%) ขณะที่ผลิตภัณฑ์อาหาร (-3.5% เทียบกับ +16.6% ก่อนหน้า) พลิกกลับมาหดตัวในเดือนนี้

สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันเติบโตโดดเด่น (+37.3%) ในขณะที่สินค้าหลักอื่นๆ เติบโตในระดับใกล้เคียงกันกับเดือนก่อน ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน (+10.3%) อิเล็กทรอนิกส์ (+16.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้า (11.2%) ทั้งนี้ สินค้าที่ได้รับอานิสงส์จาก COVID-19 เริ่มกลับมาเติบโตในระดับปกติมากขึ้น

ด้านส่งออกรายประเทศ มีการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลักในตลาดหลักทั้งหมด ได้แก่ ประเทศ จีน (+23.3%), สหรัฐอเมริกา (+20.2%), อาเซียน (+17.8%), ญี่ปุ่น (+13.2%) และสหภาพยุโรป (+12.6%)

Our take: การส่งออกมีแนวโน้มที่จะชะลอลงต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 เนื่องจากอานิสงส์จากฐานที่ต่ำที่เริ่มหมดไปและผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก แม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 จะดีขึ้น แต่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ (จากการสำรวจโดย Wall Street Journal) เชื่อว่าการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานจะคงอยู่อย่างน้อยในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า

คู่ค้ารายใหญ่ ได้แก่ สหภาพยุโรปและจีน ซึ่งมีมูลค่าส่งออกคิดเป็น 9% และ 13% ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2020 กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน โดยปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคการผลิตในประเทศเหล่านั้นและอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าขั้นต้นและขั้นกลางของไทย

 ในทางกลับกัน ราคาพลังงานที่สูงขึ้นจะส่งผลดีต่อราคาส่งออก ซึ่งสามารถช่วยชดเชยปริมาณที่ลดลงได้บางส่วน ในขณะเดียวกัน ราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นก็จะหนุนราคานำเข้าสำหรับสินค้าวัสดุและสินค้าพลังงาน ซึ่งคิดเป็น 40% ของการนำเข้าโดยรวมให้สูงขึ้นเช่นกัน

    • ประมาณการการส่งออก (f.o.b.) โดยกรณีฐานของเราอยู่ที่ 16.4% YoY ในปี 2021F และ 4.4% YoY ในปี 2022F โดยมีแนวโน้มไปทางด้านลบเพิ่มขึ้น เนื่องจากการหยุดชะงักของอุปทานอาจคงอยู่นานกว่าที่คาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดแคลนชิพที่จะสร้างแรงกดดันต่อการส่งออกมากขึ้น หลังปัญหาการเพิ่มกำลังผลิตชิพในระยะสั้นยังมีความจำกัด ส่งผลให้เวลาในการส่งมอบส่งชิพเพิ่มขึ้นจนทำสถิติสูงสุด

🚩🚩ห้อง Official Line ห้องไลน์ฟรี มิติหุ้น ทันทุกสถานการณ์การลงทุน หุ้นเด่น หุ้นเด็ดตลอดวัน กับห้องไลน์ @mitihoonwealth ห้องไลน์ที่นักลงทุนเข้าเป็นสมาชิกฟรี ไม่มีเงื่อนไข เพียงคลิกลิงค์นี้ก็เข้าได้เลย และสามารถส่งต่อให้เพื่อนได้

https://lin.ee/cXAf0Dp