CPF งบQ1พลิกขาดทุน จ่อหั่นเป้ากำไรทั้งปี

752

มิติหุ้น – CPF โดยบล.พาย ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” โดยมองว่าผลประกอบการช่วง Q1/66 จะเป็นจุดที่ต่ำสุดของปี หลังจากได้รับผลกระทบจากราคาเนื้อสัตว์ที่อ่อนตัวลงทั้งราคาสุกรและราคาเนื้อไก่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะที่จีนที่อาจจะกลับมาขาดทุนหลังจากมีกาไรมาในช่วง 2H22 แม้จะมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มผลประกอบการของ CPALL ที่คาดว่าจะดีขึ้นหลังเปิดประเทศ และการฟื้นตัว
ทั้งนี้ การเข้าซื้อเราแนะนำให้ รอดูผลประกอบการงวด Q1/66 เสียก่อนเพราะเราคาดว่าจะขาดทุนกว่า 2,897
ลบ. และทำให้อาจจะมีการปรับประมาณการทั้งปีลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 11,864 ลบ . (-15%YoY) ขณ ะที่ มูลค่าเห มาะสม อยู่ที่ 28.5 บ าท

โดยมองว่าผลประกอบการช่วง Q1/23 จะพลิกมาขาดทุน 2,837 ลบ. พลิกจากที่มีกำไรสุทธิ 2,842 ลบ. ใน Q1/65 และ 1,812 ลบ. ใน Q4/6522 เป็นการขาดทุนครั้งแรกนับตั้งแต่งวด Q3/64  ได้รับแรงกดดันจากราคาเนื้อสุกรที่อ่อนตัวลงไม่ว่าจะเป็นที่ไทย (-2%YoY,-13%QoQ) และ เวียดนาม (-5%YoY,-5%QoQ)
ส่วนที่จีนทรงตัวจากปีก่อนแต่ลดลง 40%QoQ ส่วนเนื่อไก่ในประเทศทรงตัว จากปีก่อนแต่ลดลง 11%QoQ

รายได้คาดที่ 149,022 ลบ. (+7%YoY,-6%QoQ) การเติบโตจากปีก่อนส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การลดลงเป็นผลจากราคาขายเป็นหลัก กำไรขั้นต้นคาดไว้เหลือเพียง 9% ลดลงจาก 13% ใน Q1/65  และ 11% ใน Q4/65  เนื่องจากต้นทุนไม่ได้อ่อนตัวลงตาม ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคาดที่ 13,261 ลบ. +9%YoY,-11%QoQ

ส่วนแบ่งจากบริษัทร่วมคาดรับรู้กำไร 5 ลบ. โดยมาจากผลประกอบการของCPALL ที่คาดว่าจะดีขึ้นหลังเปิดประเทศ แต่ถูกกดันจากส่วนแบ่งขาดทุนของ CTI ที่ได้รับแรงกดดันจากราคาสุกรที่ลดลงแรง ดอกเบี้ยจ่ายทรงตัวจาก Q4/65  แต่เพิ่มขึ้น 35%YoY ปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายราคาต้นเดือน เม.ย. ยังทรงๆ รอดูช่วงสงกรานต์อีกที
ราคาเนื้อสัตว์ในประเทศช่วงต้นเดือน เม.ย. ยังคงเห็นการอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากระดับ 89 บาท/กก.ใน Q1/66 มาอยู่ที่ระดับ 82-83 บาท/กก. เราต้องติดตามถึงช่วงเทศกาลสงกรานว่าจะปรับขึ้นได้หรือไม่จากความต้องการบริโภคที่เพิมขึ้น สำหรับภาพรวมผลผลิตสุกรในปี 66 จะกลับมามีปริมาณใกล้เคียงกับก่อนเกิดโรค ASF ที่ระดับ 18-19 ล้านตัวแล้วทำให้การปรับขึ้นอาจจะไม่มากเหมือนอดีต แต่ก็จะไม่ต่าไปกว่านี้แล้วเนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงยังคงอยู่ในระดับสูง ด้านราคาเนื้อไก่คาดว่าจะไม่อ่อนตัวลงจากนี้มากนักเพราะมีปัจจัยบวกเรื่องการส่งออกที่จะช่วยพยุงราคาไว้ได้

ส่วนราคาสุกรในต่างประเทศที่เวียดนามปรับลดมาอยู่ที่ 49,000 ดอง/กก. ส่วนที่จีนเหลือ 14.5 หยวน/กก. ซึ่งคาดว่าหลังจากนี้จะค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยเฉพาะผลดีจากภาคการท่องเที่ยวที่จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น

 

ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง

Web : https://www.mitihoon.com/

Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon

Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770

Tiktok : www.tiktok.com/