เซเว่นฯ จับมือสสว.หนุน SME เติบโตยั่งยืน มุ่งเสริมสร้าง “Reskills & Upskills”

56

มิติหุ้น  –  การแบ่งปันความรู้ การให้โอกาส และการสนับสนุนและส่งเสริม SME อย่างตรงจุด นับเป็น อาวุธสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน “ศูนย์ 7 สนับสนุน SME หรือ 7 SME Support Center ภายใต้การขับเคลื่อนของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ หนึ่งในหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ในทุกมิติ จึงได้ผนึกกำลังหลากพันธมิตรเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการและกิจกรรมดีๆ อย่างต่อเนื่อง มุ่งหวังช่วยติดอาวุธด้านความรู้เสริมศักยภาพ SME ไทย
 
ล่าสุด จับมือกับพันธมิตรสำคัญ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดสัมมนาออนไลน์ SME 3ก แกร่ง เก่ง กล้า” ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “SME Unlock : ปลดล็อกอนาคต SME ด้วยการ Reskills & Upskills พร้อมเปิดเกณฑ์คุณสมบัติ SME ที่จะได้รับการสนับสนุนตามมาตรการของหน่วยงานภาครัฐ
 
SME ไทยพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว  
รศ.ดร.วีระพงศ์ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อ SME ในช่วงไตรมาส 2/2563 ซึ่งเป็นระยะแรกของการแพร่ระบาด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (GDP MSME) อยู่ที่ –17.1% ถือว่าต่ำสุดในรอบ ปี (25602564) แต่เมื่อ SME เริ่มปรับตัวได้ประกอบกับได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมตรงจุด ทำให้ตัวเลขการฟื้นตัวของ GDP MSME ปี 2564 ขยายตัว 3.0
 
สำหรับในปี 2565 สสว.ประมาณการณ์ว่า GDP MSME จะมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 4.9% โดยมีปัจจัยบวกสนับสนุนหลากปัจจัย อาทิ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์โลก การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐอย่างต่อเนื่องตามแผน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายใต้มาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นและการลงทุนที่มากขึ้นของภาคเอกชนตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของภาครัฐ 
 
Reskills และ Upskills หลากด้านให้ SME ควบคู่หนุนแหล่งเงินทุน 
แม้ในปีนี้ SME ไทยจะมีปัจจัยหนุนในการเติบโต แต่ก็ยังคงมีปัจจัยลบอยู่ด้วยเช่นกัน อาทิ มีผลิตภาพที่ต่ำเกินไป มีจุดอ่อนด้านการพัฒนาดิจิทัล ใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจน้อย และมีหนี้สินจำนวนมาก ปัจจัยลบเหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการเติบของของ SME รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ เพราะ SME มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ถึง 34.6% ซึ่งหมายความว่า หาก SME แข็งแรง ประเทศก็จะแข็งแรงด้วยเช่นกัน 
 
สสว. ในฐานะหน่วยงานที่บูรณาการและผลักดันการส่งเสริม MSME จึงได้เร่งดำเนินการผลักดันแผนสนับสนุน SME โดยแบ่งออกเป็น เรื่องหลักๆ ประกอบด้วย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และการขยายโอกาสทางการตลาด  ซึ่งทั้ง เรื่องหลักจะถูกขับเคลื่อนผ่านกลไกที่ สสว.อยู่หรือพัฒนาให้ดีขึ้น ประกอบด้วย 1.ศูนย์กลางบริการข้อมูลสำหรับธุรกิจ (SME Portalอย่าง SME ONE ศูนย์รวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ SME 2.การขยายผลโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) หรือเรียกง่ายๆ ว่าโครงการเอสเอ็มอีคนละครึ่ง เพื่ออุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่เอสเอ็มอีแบบร่วมจ่าย (copayment) ในสัดส่วนร้อยละ 5080 ตามขนาดของธุรกิจ โดยเตรียมเปิดเฟส ให้กับ SME ที่สนใจในวันที่ พฤษภาคม 2565 อนาคตให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
 
3.การปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุน SME หรือออกกฎหมายใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ 4.การส่งเสริม SME เข้าสู่ระบบ (Formalizationประเทศไทยได้ชื่อว่ามีเศรษฐกิจนอกระบบที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งหมายความว่า ผู้ประกอบการนอกระบบเหล่านี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนหรือช่วยเหลือจากทางภาครัฐ 5.การสร้างความรู้พื้นฐานทางการเงิน (Financial Literacy) มี SME จำนวนไม่น้อยที่ไม่มีการวางระบบการเงิน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่ม Micro โดยทาง สสว.ได้ร่วมกับสมาคมธนาคารไทยและมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพิ่มเนื้อหาความรู้ทางการเงินในการเรียนออนไลน์ (SME Academy) ตลอดจนจัดทำหลักสูตรพื้นฐานทางการเงินสำหรับ Micro โดยเฉพาะ
 
6.การขยายบทบาทการค้ำประกันสินเชื่อ ปัจจุบันระบบค้ำประกันสินเชื่อยังมีข้อจำกัด ทำให้การค้ำประกันยังมีปริมาณไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินสินเชื่อทั้งหมด 7.การปรับ SME สู่การทำธุรกิจบนฐานดิจิทัล เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ 8.การยกระดับเทคโนโลยีนวัตกรรม นวัตกรรมจะช่วยทำให้สินค้าของผู้ประกอบการมีความแตกต่างช่วยเพิ่มมูลค่า 9.การสนับสนุนให้ SME เข้าถึงตลาดภาครัฐของสินค้ามูลค่าสูง ซึ่งตลาดจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งเราจะดำเนินการจัดทำรายชื่อ/รายการสินค้าและบริการในกลุ่มสินค้าเป้าหมาย พร้อมประสานหน่วยงานจัดซื้อ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่ดีของ SME 10.การเชื่อม SME เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Value Chainเช่น การสนับสนุนข้อมูล เงินทุนในการเข้าสู่เวทีโลก
 
รศ.ดร.วีระพงศ์ ยังกล่าวเสริมอีกว่า ผู้ประกอบการที่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนอะไร หรือมีส่วนไหนที่ต้องพัฒนาก็ควรเร่งดำเนินการ Reskills และ Upskills เช่น เพิ่มช่องทางการขาย จัดทำระบบการเงินเพื่อเป็นข้อมูลในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน พัฒนากระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจะขับเคลื่อนแผนงานให้เป็นไปตามเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการ SME ในการสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ และงานสัมมนา “SME 3ก แกร่ง เก่ง กล้า” เป็นอีกหนึ่งช่องทางและกลไลสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน  
   @mitihoonwealth
https://lin.ee/cXAf0Dp